วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทเรียนที่ ๑ ท๓๐๑๐๒ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๒ ระดับ ม.๔

บทที่ ๑
คำ ความหมาย และการสรรใช้คำ

สาระสำคัญ
                ชีวิตในปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องใช้การเขียนมากขึ้น ไม่ว่าในการสื่อสารทั่วๆ ไป
การศึกษา หรือการประกอบอาชีพ ถ้าผู้เขียนเขียนสะกดผิดมาก เขียนไม่ชัดเจนแจ่มแจ้ง หรือใช้
ถ้อยคำไม่เหมาะสม อาจะทำให้ผู้อ่านมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อผู้เขียน หรืออาจทำให้เกิดการเข้าใจ
ผิดพลาดหรือทำให้การติดต่อธุรการงานนั้นไม่ประสบความสำเร็จ การเขียนจึงมีความสำคัญมาก
สำหรับชีวิตของทุกคน

จุดประสงค์การเรียนรู้
                เขียนสะกดคำ บอกความหมายของคำ สรรใช้ถ้อยคำ และแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำให้
ถูกต้องเหมาะสม

จุดประสงค์การเรียนรู้ย่อย
๑.      เขียนสะกดคำได้ถูกต้อง
๒.    ใช้คำได้ถูกต้อง ตรงตามความหมาย
๓.     ใช้คำได้กระชับรัดกุม
๔.     ใช้คำได้ถูกต้องตามระดับของภาษา
๕.     แก้ไข และปรับปรุงถ้อยคำได้ถูกต้องเหมาะสม

คำ และความหมายของคำ
ชีวิตในปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องใช้การเขียนมากขึ้น ไม่ว่าในการสื่อสารทั่วๆ ไป
การศึกษา หรือการประกอบอาชีพ การรู้ว่าคำแต่ละคำสะกดอย่างไร มีความหมายอย่างไร และ
สามารถเลือกสรรใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ โอกาส และบุคคลจึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง
การที่เรารู้จักคำมากจะทำให้สามารถเลือกใช้คำได้ถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้น ในที่นี้จะแยกกล่าวเป็น ๒ หัวข้อ คือ การสะกดคำ และความหมายของคำ ดังนี้
๑.      การสะกดคำ
คำในภาษาไทยมีคำที่ออกเสียงอย่างเดียวกัน แต่สะกดต่างกัน และมีความหมายต่างกัน ฉะนั้นหากเขียนผิดย่อมทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อนได้ การเขียนได้ถูกต้องจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะทำให้การสื่อสารเข้าใจง่ายตรงตามที่ผู้ส่งสารต้องการแล้ว ยังทำให้ผู้รับสาร หรือผู้อ่านเกิดความประทับใจที่ดีต่อผู้เขียนด้วย
โดยทั่วไปแล้วสาเหตุที่ทำให้เขียนผิดมาจากสาเหตะดังต่อไปนี้ คือ
สาเหตุที่ทำให้เขียนผิด มักจะมาจากสาเหตุ ดังนี้
๑.       การเขียนผิดเพราะออกเสียงคำไม่ถูก บางคนออกเสียงคำบางคำไม่ตรงหรืออกเสียงไม่ได้และออกเสียงอย่างนั้นจนติดนิสัยและมีบางคำที่คนส่วนมากออกเสียงไม่ตรงกับรูปที่เขียนตามพจนานุกรม เวลาเขียนก็เขียนตามที่ตนออกเสียง เช่น
คำที่เขียนถูก                                         เขียนผิดเป็น
กรวดน้ำ                                                 กรวดน้ำ
กระตือรือร้น                                        กระตือลือล้น
ขะมักเขม้น                                           ขมักเขม้น
เครื่องราง                                              เครื่องลาง
คากรอง                                                 คาครอง
จักจั่น                                                     จักกะจั่น
จัญไร                                                     จังไร
ชักเย่อ                                                    ชักกะเย่อ
ชันโรง                                                   ชันนะโรง
ชุกชี                                                       ชุกกะชี
ซ่าหริ่ม                                                  สลิ่ม
นิจศีล                                                     นิจสิน
น้ำครำ                                                    น้ำคำ, น้ำคลำ
ปรักหักพัง                                            สลักหักฟัง
ผมหยักศก                                             ผมหยักโศก
พรรณนา                                               พรรณา
ลดา                                                         ลัดดา
หยิบหย่ง                                               หยิบโหย่ง
เงินทดรอง                                            เงินทดลอง
อัฒจันทร์                                               อัศจรรย์
อะไหล่                                                  อาหลั่ย
อีหลุยฉุยแฉก                                       อีลุ่ยฉุยแฉก

๒.     การเขียนผิดเพราะใช้แนวเทียบผิด คำบางคำเราไม่มั่นใจว่าเขียนอย่างไร เราจึงมักนึกเทียบเคียงกับคำอื่นๆ ซึ่งเคยรู้มาแล้ว วิธีการเขียนเช่นนี้ก็เป็นสาเหตุให้เขียนผิดได้จึงควรพิจารณาจดจำเป็นคำๆไป เช่น
คำที่เขียนถูก                         เขียนผิดเป็น                         เพราะเทียบกับคำ
อนุญาต                                  อนุญาติ                                  ญาติ (พี่น้อง)
โอกาส                                   โอกาศ                                    อากาศ
ทรมาน                                  ทรมาร                                   ยักษ์มาร
ตัวอย่างคำที่เขียนผิดเพราะใช้แนวเทียบผิด เช่น
คำที่เขียนถูก                                         เขียนผิดเป็น
กล้วยบวชชี                                           กล้วยบวดชี
กังวล                                                      กังวน
กำพืด                                                     กำพืช
แกงบวด                                                แกงบวช
จำนง                                                      จำนงค์
จระเข้                                                     จรเข้
เจียระไน                                               เจียรนัย
ชมพู่                                                       ชมภู่
ต้นลำพู                                                  ต้นลำภู
ต้นโพ                                                    ต้นโพธิ์
ตานขโมย                                              ตาลขโมย
บางลำพู                                                 บางลำภู
เบียดเบียน                                             เบียดเบียฬ
ผาสุก                                                      ผาสุข
กฎเกณฑ์                                               กฏเกณฑ์
รื่นรมย์                                                   รื่นรมณ์
รำพัน                                                     รำพรรณ
ละโมบ                                                  ลโมภ
สังวาล                                                    สังวาลย์
อานิสงส์                                                อานิสงฆ์
สำอาง                                                    สำอางค์
อับปาง                                                   อัปปาง
ดอกจัน                                                  ดอกจันทร์
สิงโต                                                      สิงห์โต
โอกาส                                                   โอกาส
อเนจอนาถ                                            อเน็จอนาถ
หงส์                                                       หงษ์
สังเกต                                                    สังเกตุ

๓.      การเขียนผิดเพราะไม่เข้าใจความหมายของคำพ้องเสียง คำในภาษาไทยมีเสียงตรงกันมาก แต่เขียนสะกดการันต์ต่างกัน และมีความหมายต่างกัน เมื่อเป็นเช่นนี้อาจจะทำให้เขียนผิดได้ถ้าหากจำแต่เสียงโดยไม่พิจารณาความหมายเฉพาะของคำแต่ละคำ เช่น
บิณฑบาต          เขียนผิดเป็น     บินฑบาตร
บิณฑ                  แปลว่า               ก้อนข้าว
บาต (ปาต)        แปลว่า               ตก หล่น ทิ้ง
บาตร                  แปลว่า               ภาชนะที่พระสงฆ์ใช้ใส่อาหาร
บิณฑบาต          แปลว่า               ข้าวที่ตกแล้ว ทิ้งแล้ว สละแล้ว
                                                        ไม่ได้แปลว่าเอาบาตรไปใส่ข้าว
เบญจเพส          เขียนผิดเป็น     เบญจเพศ
เบญจ                  แปลว่า               ห้า
เพส                    แปลว่า               ยี่สิบ
เพศ                     แปลว่า               ลักษณะที่ให้รู้ว่าหญิง หรือชาย ตัวผู้หรือตัวเมีย
เบญจเพส          แปลว่า               วัยยี่สิบห้าปี ไม่ได้แปลว่า ห้าเพศ
ปล้นสะดม       เขียนผิดเป็น     ปล้นสดมภ์
สะดม                 แปลว่า               การขโมยของโดยวางยาให้หลับ
สดมภ์                แปลว่า               หลัก เสา เช่น จตุสดมภ์ หมายถึงการปกครองด้วยหลัก ๔ หลัก คือ เวียง วัง คลัง นา
ปล้นสะดม        แปลว่า               การปล้นโดยการวางยาให้หลับ
ปล้นสดมภ์       แปลว่า               การปล้นเอาหลักเอาเสาไม่ใช่ปล้นทรัพย์สินอย่างอื่น
คำที่เขียนผิดบ่อยๆ
                                คำที่เขียนถูก         เขียนผิดเป็น         ความหมายของคำถูก
                                อัมพาต                  อำมพาต                โรคชนิดหนึ่งที่เกี่ยวกับลม คือ ลมในร่างกายเดินไม่สะดวกทำให้มือตาย ตีนตาย
                                อาจิณ                     อาจินต์                   เคยประพฤติมา เคยปฏิบัติมาจนเป็นนิสัย
                                ทะเลสาบ              ทะเลสาป              ทะเลที่มีน้ำจืด
                                ตาเถน                    ตาเถร                     เป็นคำอุทานแสดงอาการตกใจ
                                                                                                (เถน เป็นภาษาบาลี แปลว่า ขโมย)
                                เวนคืน                   เวรคืน                    การยกที่ดินคืนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
                                สมเพช                  สมเพท,สมเภท    เกิดความสงสาร
                                ปรานี                     ปราณี                     เอ็นดู เผื่อแผ่
ตัวอย่างคำพ้องเสียงในภาษาไทย
เสียง                       คำ                           ความหมาย
กอระนี                  กรณี                       เหตุ เรื่อง คดี
                                กรณีย์                     กิจหรือหน้าที่อันควรทำ
กุด                           กุด                           บึง ลำน้ำ ด้วน เหี้ยน
                                กุฎ                          ยอด
                                กุฏิ                          เรือนหรือที่พักพระภิกษุ
กะเสียน                 เกษียน                   ข้อความที่เขียนแทรกไว้
                                เกษียร                    น้ำนม
                                เกษียณ                   สิ้นไป
ขัน                          ขัน                          ภาชนะใช้ตักน้ำ
                                ขัน                          น่าหัวเราะ
                                ขันธ์                       ตัว หมู่ กอง
                                ขัณฑ์                      ส่วน ตอน
                                ขรรค์                      อาวุธที่มีสองคม
โจด                         โจท                        โพนทะนาความผิด
                                โจษ                        เล่าลือ, พูดเซ็งแซ่
                                โจทก์                      ผู้กล่าวหา, ผู้ฟ้อง
                                โจทย์                      คำถามในทางคณิตศาสตร์ตั้งเป็นปัญหา
ฉัน                          ฉัน                          ตัวผู้พูด (สรรพนามบุรุษที่ 1)
                                ฉัน                          กิน (สำหรับพระ)
                                ฉันท์                       พอใจ, ชื่อคำประพันธ์ประเภทหนึ่ง
ประพาด                ประภาส                แสงสว่าง
                                ประภาษ                ตรัส บอก พูด
                                ประพาส                ไปต่างถิ่นหรือต่างแดน ไปเที่ยว
                                ประพาต                พัด กระพือ
เพด                         เภท                         การแบ่ง การแยก การแตกออก
                                เพส                        ยี่สิบ
                                เพศ                         รูปที่แสดงให้รู้ว่าหญิงหรือชาย
พานิด                     พาณิช                    พ่อค้า
                                พาณิชย์                  การค้าขาย
พุด                          พุด                          ชื่อไม้พุ่มชนิดหนึ่ง
                                พุธ                          ชื่อดาวเคราะห์
                                พุทธ                       พระพุทธเจ้า
                                ภุช                          กิน
มาด                        มาด                        ท่าทาง
                                มาตร                      เครื่องวัดต่างๆ
                                มาส                        เอน
                                มาศ                        ทอง
มน                          มน                          อยู่กับที่, ไม่มีเหลี่ยม ใจ
                                มล                          ความมัวหมอง สินม เหงื่อไคล
                                มนท์                       ดาวพระเสาร์ เฉื่อยช้า อ่อนแอ
                                มนต์                       คำศักดิ์สิทธิ์
                                มนตร์                     คำศักดิ์สิทธิ์
ยาด                         ยาด                         ชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง
เยา                          เยา                          เบา อ่อน น้อย ถูก หย่อน
                                เยาว์                        รุ่น หนุ่ม สาว อ่อน
ราด                         ราด                         เทของเหลว
                                ราช                         พระเจ้าแผ่นดิน
                                ราชย์                      ราชสมบัติ สมบัติของพระเจ้าแผ่นดิน
                                ราษฎร์                   ประชาชน
สาน                        สาน                        หมา, การใช้เส้นตอก หรือสิ่งที่เป็นเส้นอื่นๆ ที่อ่อนตัวได้ ขัดกัน
                                สาร                         แก่น ส่วนสำคัญ ถ้อยคำ หนังสือ
                                ศาล                         ที่ชำระความ ที่เทพารักษ์สถิต
สะเหวด                 เศวต                       สีขาว เผือก
                                เศวตร                     โรคเรื้อน
สะดม                     สะดม                     ขโมย ปล้น
                                สดมภ์                    เสา หลัก
สับ                          สับ                          เอาของมีคมฟันลงไปโดยแรง
                                ศัพท์                       เสียงคำ คำยากที่ต้องแปล
                                สรรพ                     ทุกสิ่ง ทั้งปวง ทั้งหมด
อินซี                       อินทรี                     ชื่อปลาหรือนกใหญ่ชนิดหนึ่ง
                                อินทรีย์                  ร่างกาย อำนาจ กำลัง ความเป็นใหญ่

๔.      การเขียนผิดเพราะมีประสบการณ์มาผิด คำบางคำที่อาจจะพบเห็นในหน้าหนังสือพิมพ์ ในหนังสือการ์ตูน ในป้ายโฆษณา หรือในที่อื่นๆ เป็นคำที่เขียนผิดเสมอจนจำติดตา ซึ่งมีส่วนทำให้จำคำสะกดผิดนั้นมาใช้เขียน เช่น
                                                คำที่เขียนถูก                                         เขียนผิดเป็น
เกร็ดความรู้                                           เกล็ดความรู้
กิเลส                                                      กิเลศ
กระแส                                                   กระแสร์
เกสร                                                       เกษร
กำสรวล                                                 กำศรวล
ประณีต                                                  ปราณีต
ประสบ                                                  ประสพ
รสชาติ                                                   รสชาด
สะดวก                                                   สดวก
สบาย                                                      สะบาย
สะอาด                                                   สอาด
ศีรษะ                                                     ศรีษะ
ดาดฟ้า                                                   ดาษฟ้า
ภาคภูมิ                                                  พากพูม
ภูมิใจ                                                      พูมใจ
๕.     การเขียนผิดเกี่ยวกับการประวิสรรชนีย์ วิสรรชนีย์ คือ ะ (สระอะ) การประวิสรรชนีย์หรือไม่นั้น บางครั้งก็ยากแก่การตัดสินใจ และทำให้ผู้ใช้เกิดความลังเลได้ ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นที่ควรทราบหลักการประวิสรรชนีย์
หลักการประวิสรรชนีย์
๑.      คำไทยแท้ที่ออกเสียงอะเต็มเสียง เช่น กะ จะ ปะ กะทะ ปะทะ กะดำกะด่าง ยกเว้นคำที่ใช้จนเคยชินเป็นประเพณี เช่น ธ (เธอ) ณ (ใน ที แห่ง) ทนาย พยาน ฯลฯ
๒.    คำไทยแท้ชนิดคำประสมเดิมซึ่งมีคำหน้ากร่อนไปเป็นเสียง อะ ให้ประ
วิสรรชนีย์
คำเดิม                                                    กร่อนคำเป็น
ฉันนี้                                                      ฉะนี้
ฉันนั้น                                                   ฉะนั้น
คำนึง                                                      คะนึง
เฌอเอม                                                 ชะเอม
เฌอพลู                                                  ชะพลู
ต้นแบก                                                  ตะแบก
ตัวขาบ                                                   ตะขาบ
ตาปู                                                        ตะปู
ตาวัน                                                      ตะวัน
สายดือ                                                   สะดือ
สายดึง                                                    สะดึง
สาวใภ้                                                    สะใภ้
หมากนาว                                             มะนาว
หมากม่วง                                             มะม่วง
หมากขาม                                             มะขาม
                                                                ฯลฯ
                ข้อสังเกต มีคำบางคำที่กร่อนมาจากคำอื่น แต่ไม่ประวิสรรชนีย์ เช่น อนึ่ง กร่อนมาจาก อันหนึ่ง อาจเป็นเพราะต้องการรักษาเสียงให้อยู่ในระดับเดิม พยาน กร่อนมาจาก ผู้ญาณ (มีการเปลี่ยนรูปเล็กน้อย[1])
๓.     คำที่ขึ้นต้นด้วย หรือ หรือ แล้วแผลงเป็น หรือ กร ให้ประวิสรรชนีย์เช่นเดิม เช่น
คำเดิม                                            แผลงคำเป็น
ขจัด                                                กระจัด
ตวัด                                                กระหวัด
สะพาน                                          ตะพาน
สะพาย                                           ตะพาย
สะโพก                                          ตะโพก
สะท้อน                                         กระท้อน
สะเทือน                                        กระเทือน
สะเภา                                            ตะเภา
ฯลฯ
๔.     พยางค์สุดท้ายของคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตซึ่งต้องออกเสียง อะ ให้
ประวิสรรชนีย์ เช่น ธุระ พละ สาธารณะ อาชีวะ อิสระ ศิลปะ สรณะ อมตะ มรณะ นยนะ สวัสดิกะ พันธนะ มุทธชะ ฯลฯ
๕.     ซ้ำในภาษาไทย เมื่อมีเสียงของคำหน้ากร่อนไปเป็นเสียง อะให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
คำเดิม                                            กร่อนคำเป็น
ครืนครืน                                       คระครืน
ครื้นครื้น                                       คระครื้น
คลุ้งคลุ้ง                                         คละคลุ้ง
รวยรวย                                          ระรวย
ริกริก                                              ระริก
รื่นรื่น                                             ระรื่น
เรื่อเรื่อ                                           ระเรื่อ
ลิ่วลิ่ว                                              ละลิ่ว
ฯลฯ
๖.      คำชวาที่ออกเสียง อะ ในภาษาไทย ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น มะเดหวี ระเด่น ระตู สะตาหมัน ดะหมัง ประตาระกาหลา ตำมะหงง อะนะ กะหลาป๋า ฯลฯ
๗.     คำอื่นที่ไม่รู้ที่มาและรู้ที่มาบางคำ เมื่อออกเสียง อะ เต็มเสียง หรือเต็มมาตรา ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น มะระ จะละเม็ด มะละกอ สะระแหน่ สะอื้น คะนึง ประสงค์ ฯลฯ
๘.     คำแผลงบางคำที่มาจากภาษาเขมร โดยแผลง เป็น ปร ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
คำเดิม                                            แผลงคำเป็น
ผกาย                                              ประกาย
ผทม                                               ประทม
ผจญ                                               ประจญ
๙.      คำเดิมที่ประวิสรรชนีย์อยู่แล้วเมื่อแผลงคำโดยแทรก เข้าไป ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
คำเดิม                                            แผลงคำเป็น
กลับ                                                กระลับ
กลาย                                              กระลาย
กลบ                                                กระลบ
กลอก                                             กระลอก
เกลือก                                            กระเลือก

                                คำที่ไม่ต้องประวิสรรชนีย์
๑.      คำที่เสียงพยัญชนะตัวหน้าออกเสียง อะ ไม่เต็มเสียงหรือไม่เต็มมาตรา ไม่ต้อง
ประวิสรรชนีย์ เช่น ขจัด ขโมย ฉบับ ชนิด ชนวน ชนะ ฉมัง คทา พยัก พยุง พยศ ทแยง ทโมน สบาย
๒.    คำที่เป็นอักษรนำ แม้ออกเสียง อะ ก็ไม่ต้องประวิสรรชนีย์ เช่น กนก ขยาด ขนม จรัส ฉลัก ตลาด ไถง ไผท พนัน สมาน ไสว สนาน สวิงสวาย อร่อย ฯลฯ
๓.     คำที่ออกเสียง อะ แต่แผลงมาจากคำเดิมซึ่งมีพยางค์เดียว ไม่ต้องประวิสรรชนีย์ เช่น
คำเดิม                                            แผลงคำเป็น
ขด                                                   ขนด
ชิด                                                  ชนิด
ชุ่ม                                                  ชอุ่ม
ชวน                                               ชนวน
บวก                                                ผนวก
ขาน                                                ขนาน
บวช                                                ผนวช
ผัง                                                   ผนัง
สวย                                                สลวย
๔.     คำบาลีสันสกฤตที่ลงท้ายด้วย อะ เมื่อไปสมาสกับคำอื่น ทำให้พยางค์ที่มีเสียง อะ นั้น ไม่ได้อยู่ท้ายสุดของคำไม่ต้องประวิสรรชนีย์ เช่น
คำสมาส                                        คำใหม่
พละ + ศึกษา                                พลศึกษา
ธุระ + กิจ                                      ธุรกิจ
อิสระ + ภาพ                                อิสรภาพ
สาธารณะ + สุข                           สาธารณสุข
อาชีวะ + ศึกษา                            อาชีวศึกษา
อารยะ + ธรรม                            อารยธรรม
คณะ + บดี                                    คณบดี
พละ + การ                                   พลการ
ฯลฯ
๕.     คำที่มาจากภาษาเขมร โดยมากไม่ประวิสรรชนีย์ เช่น ขจร ขจาย ขจี ขโมย ฉบับ ฉบัง ขมา ชไม ถนิม ผจญ สดำ สดับ สนอง สนุก ลออ สไบ พเยีย พนม ผกา ฯลฯ
๖.      คำไทยแท้ ซึ่งย่อมาจากคำอื่นบางคำ เช่น
คำ                                                   ย่อมาจากคำ
ฯพณฯ                                        พ่อเหนือหัวเจ้าท่าน
                                                 ท่าน เธอ ให้
ทนาย                                         ท่านนาย แทนนาย
พนักงาน                                   ผู้นักงาน พ่อนักงาน
พนาย                                         พ่อนาย

กิจกรรมที่ ๑
เรื่อง การเขียนสะกดคำ
ชุดที่ ๑ เรื่องการเขียนสะกดคำผิดเพราะออกเสียงคำไม่ถูกต้อง

ก.      ให้นักเรียนเขียนคำต่อไปนี้เสียใหม่ให้ถูกต้อง
๑.      ตะคิว                                                                  ๒.   ก๊วยเตี๋ยวลาดหน้า                                                   
๓.   ถนนราดยาง                                                     ๔.   เพรียบพร้อม                                                           
๕.   สลักหักพัง                                                        ๖.    ปราณีต                                                             

ข.      ให้นักเรียนเลือกคำที่สะกดถูกต้องมาเติมในช่องว่าง
๑.      คนที่แสดงกิริยา                                                   ไม่น่าดูเลย (ลุกลี้ลุกลน, ลุกลี้รุกรน)
๒.    นนทรีชอบอยู่เสมอ                                            อยู่เสมอ (ผลัดวันประกันพรุ่ง, ผัดวันประกันพรุ่ง)
๓.     คลองแถวบ้านฉันชาวบ้านจะช่วยกัน                             ปีละครั้ง (รอก, ลอก)
๔.     สมภพมัก                                              ตาไปทางสมศรีบ่อยๆ (ปราย, ปลาย)
๕.     มานะและมานีตกลงใจจะ                                                 กัน (ร่วมหอลงโรง, ร่วมหอลงโลง)
๖.      ทองดีคิดจะ                                           จากการเป็นนักเลง (ลามือ, รามือ)

ชุดที่ ๒ เรื่องการเขียนผิด เพราะใช้แนวเทียบผิด
                ให้นักเรียนแก้คำผิดให้ถูกต้อง ให้บอกด้วยว่าเขียนผิดเพราะใช้คำใดเป็นแนวเทียบ
                คำสะกดผิด                                           คำสะกดถูก                                   คำที่เป็นแนวเทียบ
๑.      บอระเพชร                                                                                                                                                  
๒.    ดอกจันทน์ (เครื่องหมาย)                                                                                                                        
๓.     กำพืช                                                                                                                                                            
๔.     อานิสงฆ์                                                                                                                                                      
๕.     ปลาท่องโก๋                                                                                                                                                  
๖.      กล้วยบวดชี                                                                                                                                                  
๗.     ผาสุข                                                                                                                                                             
๘.     ละคร ๑ องค์                                                                                                                                               
๙.      เนรมิตร                                                                                                                                                        
๑๐.  ภาพยนต์                                                                                                                                                      

ชุดที่ ๓ เรื่องการเขียนสะกดผิดเพราะไม่เข้าใจความหมายของคำพ้องเสียง
                ให้นักเรียนเลือกคำด้านขวามือ มาใส่ในที่ว่างข้างหน้าให้ถูกต้อง
๑.      นกช่วยหยิบ                  ตักน้ำมาให้หน่อยจ้ะ                                                  ขรรค์
๒.    พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึง                    ห้า                                                           ขัณฑ์                     
๓.     คนธรรพ์มีพระ                    เป็นอาวุธ                                                               ขันธ์
๔.                                     หมายถึง    ขอบเขต                                                             ขัน
๕.                                     หมายถึง    ผูกกระหวัด สิบร้อย                                        พรรษ์
๖.                                      หมายถึง    เชื่อมโยง เกี่ยวข้อง                                         พรรณ
๗.                                     หมายถึง    วงศ์วาน เชื้อสาย                                             พัน
๘.                                     หมายถึง    ชนิด สี                                                               ภัณฑ์
๙.                                      หมายถึง    สิ่งของ                                                               พรรค์
๑๐.                                  หมายถึง    หมู่คนที่รวมกันเป็นพวก                               พันธ์
๑๑.                                 หมายถึง    ฝน                                                                      พันธุ์
๑๒.      ผ้าผืนนั้น                       สีสวยงามเหลือเกิน                                                 สรร
๑๓.      นักออกแบบต้องมีความคิดสร้าง                      อยู่เสมอ                             สรรค์
๑๔.                                  หมายถึง    สงบเงียบ                                                           สัน
๑๕.      เราต้องเลือก                     สิ่งที่ดีสำหรับชีวิต                                               สันต์
ชุดที่ ๔ เรื่องการเขียนสะกดผิดเพราะมีประสบการณ์มาผิด
                ให้นักเรียนขีดเส้นใต้คำที่เขียนสะกดผิด แล้วเขียนใหม่ให้ถูกต้อง
คำที่เขียนถูกต้อง
๑.      อาหารจานนั้นรสชาติไม่ดีเลย กลิ่นก็ไม่น่าพิศมัย                                                                              
๒.    การทำงานแกะสลักต้องมีความปราณีตมาก                                                                                                 
๓.     คนเราไม่ประสพโชคดีบ่อยครั้งนักหรอก                                                                                             
๔.     หากบ้านเราสอาดก็ดูสบายตา                                                                                                                  
๕.     บางคนเป็นโรคภูมิแพ้ แพ้แม้กระทั่งเกษรดอกไม้                                                                              
       ๖.   ฉันไม่มีโอกาสได้ดูโทรทัศน์รายการอาถรรพ์วันศุกร์เลย                                                         
ชุดที่ ๕ เรื่องการเขียนสะกดผิดเกี่ยวกับวิสรรชนีย์
              คำสะกดผิด                                                                               คำสะกดถูก
       ๑. สดวก
       ๒. คณะบดี
       ๓. ชตา
       ๔. ฉะบับ
       ๕. ประนีประนอม
       ๖. ทรนง
       ๗. สะบาย
       ๘. ขมักเขม้น
       ๙. อะลุ้มอะหล่วย
      ๑๐. อาไหล่
                                                   



๒.    ความหมายของคำ
การรู้ความหมายของคำเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในการเขียน การใช้คำได้ถูกต้องตรงตามความหมายตามที่ต้องการจะสื่อจะทำให้การสื่อสารครั้งนั้นๆ สัมฤทธิ์ผลเป็นอย่างดี เช่น
จุติ                       หมายถึง                    เคลื่อนจากภพหนึ่งไปสู่ภพหนึ่ง ความหมายคล้ายตาย มักใช้ผิดในความหมายว่าเกิด อุบัติขึ้น
กระฏุมพี           หมายถึง                    ผู้มั่งคั่ง มักใช้ผิดในความหมายว่า ไพร่ คนต่ำ
อาทิ                    หมายถึง                    เริ่มต้น สิ่งแรก มักใช้ผิดในความหมายว่า ตัวอย่าง
                        การรู้ความหมายของถ้อยคำอย่างแท้จริงจึงมีความสำคัญที่จะทำให้การเขียนถูกต้องสัมฤทธิ์ผลตามความประสงค์ของผู้เขียน

                        คำที่ควรรู้ความหมาย มีดังนี้
๑.      คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงต่างกัน คำแต่ละคำให้ความหมายเฉพาะเจาะจงต่างกัน การเขียนที่ใช้คำที่ไม่กระชับ หรือไม่เจาะจงนั้น ทำให้เข้าใจข้อความที่เขียนผิดพลาดได้ จึงจำเป็นต้องสนใจในการใช้คำที่มีความหมายตรงกับที่ต้องการจะกล่าว เช่น
                                                เรื่องสั้น                 ให้ความหมายเฉพาะ
                                                ร้อยแก้ว                 ให้ความหมายกว้างกว่าเรื่องสั้น
                                                วรรณกรรม           ให้ความหมายกว้างที่สุด
                        ทั้ง ๓ คำนี้ นำมาใช้จะให้ความหมายที่เฉพาะเจาะจงต่างกัน เช่น
                        ประโยคที่ ๑ เรื่องมอมเป็นวรรณกรรมที่ดีเรื่องหนึ่ง (ไม่ทราบว่าเป็นวรรณกรรมประเภทใด มีลักษณะคำประพันธ์แบบใด)
                        ประโยคที่ ๒ เรื่องมอมของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นร้อยแก้วที่ดีเรื่องหนึ่ง (ไม่ทราบว่าเป็นร้อยแก้วชนิดไหน มีลักษณะเนื้อหาอย่างไร)
                        ประโยคที่ ๓ เรื่องมอมของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเรื่องสั้นที่ดีเรื่องหนึ่ง (ทำให้ทราบความหมายชัดเจนกว่าประโยคที่ ๑ และประโยคที่ ๒ คือ ทราบว่าเป็นวรรณกรรมประเภท
ร้อยแก้ว มีลักษณะเป็นเรื่องสั้น)
                        จะเห็นว่าการรู้จักเลือกใช้ความหมายของคำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการเลือกเรื่องที่จะเขียนเรียงความ ถ้าผู้เขียนรู้จักเลือกหัวข้อที่ไม่กว้างจนเกินไป ก็สามารถทำให้หาข้อมูล และเขียนได้ง่ายกว่าเรื่องที่มีชื่อเรื่องกว้างกว่า
๒.     คำที่มีความหมายนัยประหวัด หมายถึง คำที่มีความหมายไม่ตรงตามคำศัพท์ หรือไม่ได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามคำอธิบายในพจนานุกรม แต่เป็นคำที่มีความหมายผูกพันไปถึงอารมณ์ของผู้อ่าน ทำให้เกิดความรู้สึกในข้างดีหรือไม่ดีอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้สึกของแต่ละคน เช่น
คำศัพท์          ความหมายตรง                    ความหมายนัยประหวัด
ลูกเสือ            ลูกของเสือ,เด็กผู้ชายที่-     ลูกของคนร้าย หรือบุคคลที่ไว้วางใจไม่ได้หรือบุคคลที่แต่งเครื่องแบบลูกเสือ
นางกากี         ชื่อนางในวรรณคดี             ผู้หญิงที่มากชู้หลายผัว ไม่ซื่อสัตย์ต่อสามี
                การที่คำใดจะมีความหมายนัยประหวัด หรือไม่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความคิด ความรู้สึกของแต่ละคน ฉะนั้น เมื่อจะใช้คำที่แสดงความหมายนัยประหวัด ผู้เขียนจึงควรระวังใช้คำที่เป็นที่เข้าใจ และคนทั่วไปยอมรับความหมายเหล่านั้นแล้ว และจะต้องเขียนข้อความแวดล้อม (บริบท) ให้ชัดเจน เป็นที่เข้าใจตรงกับความรู้สึกที่สัมพันธ์กับคำนั้นจริงๆ[2] เช่น
คำศัพท์          ความหมายตรง                    ความหมายนัยประหวัด
เหลือบ           แมลงชนิดหนึ่ง                   บุคคลที่คอยเอาเปรียบผู้อื่น

ตัวอย่างประโยค
                ความหมายตรง   เหลือบดูเลือดสัตว์อื่นเป็นอาหาร
                ความหมายนัยประหวัด    นิพนธ์เป็นเหลือบสำหรับเพื่อนฝูง หมายถึง นิพนธ์ชอบเอาเปรียบหรือเบียดเบียนเพื่อนฝูงอยู่เสมอ

ตัวอย่างคำที่มักนำมาใช้ในความหมายนัยประหวัด
                                                            คำ                                               ความหมาย
                                                            ผึ้ง มด                                        ความขยันขันแข็ง
                                                            เต่า                                              งุ่มง่าม โง่
                                                            สุนัขจิ้งจอก                               เจ้าเล่ห์ ฉลาดแกมโกง
                                                            สิงโต สิงห์                                ผู้มีอำนาจ
                                                            หงส์                                           คนมีสกุลสูง
                                                            กา                                               ความชั่วร้าย ความต่ำช้า
                                                            นกขมิ้น                                     การร่อนเร่ พเนจร
                                                            สายรุ้ง                                        ความหวัง ความงาม ความรุ่งโรจน์
                                                            หมอก, เมฆ                              ความเศร้า อุปสรรค
                                                            พายุ                                            ความโหดร้าย อารมณ์ร้าย
                                                            เพชร                                          ผู้ที่ดีพร้อมทั้งรูปสมบัติและคุณสมบัติ
                                                            แก้ว                                            ความดี ความงาม
                                                            เจ้าเงาะ                                      คนรูปชั่วแต่น้ำใจดี
                                                            สีดำ                                            ความเศร้า ความตาย
                                                            สีขาว                                          ความบริสุทธิ์ ความไร้เดียงสา
                                                            หญ้าแพรก                                ความงอกงามทางความรู้
                                                            ลั่นทม                                        ความทุกข์ ความตาย
๓.     คำที่มีความหมายใกล้กัน เสียงคล้ายกัน และคำที่มีความหมายใกล้กัน แต่เสียงไม่เหมือนกัน ในภาษาไทยมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ไม่เหมือนกันอยู่มาก และคำบางคำก็มีเสียงคล้ายกัน ฉะนั้น ผู้เขียนจึงต้องระมัดระวังในการใช้คำให้ถูกต้องอย่างแท้จริง เช่น
ปกป้อง                  หมายถึง                                ป้องกัน รักษา
ปกครอง                หมายถึง                                คุ้มครอง รักษา ดูแล

ตัวอย่างประโยค
                ทหารมีหน้าที่ปกป้องประเทศชาติ
                รัฐบาลทำหน้าที่ปกครองบ้านเมือง
               
                คำที่มีความหมายใกล้กันเสียงคล้ายกัน และคำที่มีความหมายใกล้กันแต่เสียงไม่เหมือนกัน อาจแยกได้ ดังนี้
๑.      คำที่มีความหมายใกล้กัน เสียงคล้ายกัน เช่น
คำ                                                   ความหมาย
กีดกัน                                             ขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นกระทำการอันใดอันหนึ่งได้สะดวก
กีดกั้น                                             กั้น ขางไว้
กีดขวาง                                         กั้นขวาง เกะกะ
ขัดขวาง                                         ไม่ให้ผู้อื่นกระทำการอันใดอันหนึ่งได้สะดวก
ขัดข้อง                                           ไม่สะดวก ติดขัด
ขัดขืน                                             ไม่ทำตาม ไม่ยอมตาม
คับ                                                  ตึงตัว แน่น ฝืด
คับแคบ                                          ไม่กว้าง
คับขัน                                            เข้าที่จำเป็น
คับแค้น                                          ลำบาก ยากไร้ ฝืดเคือง
จุกจิก                                              จู้จี้ รบกวน เล็กน้อย
จุบจิบ                                             กินพร่ำเพรื่อทีละเล็กทีละน้อย
ผุด                                                   โผล่ขึ้น ทะลึ่งขึ้น สูงเด่นขึ้น
ผลุด                                                หลุดเข้าหรือหลุดออกโดยเร็ว มุดเข้า หรือมุดออกโดยเร็ว
ผลุบ                                                ดำลง มุดลง เข้าออกโดยเร็ว
๒.     คำที่มีความหมายใกล้กันแต่เสียงไม่เหมือนกัน คำเหล่านี้ บางครั้งก็ใช้แทนกันได้ เช่น ดู กับ มอง แต่บางคำความหมายไม่ตรงกันทีเดียวนัก ฉะนั้นผู้ใช้จำเป็นต้องรู้ความหมายที่ตรงตัวของแต่ละคำ เช่น
คำ                                       ความหมาย
กระฉับกระเฉง                คล่องแคล่ว กระปรี้กระเปร่า (เฉพาะกิริยาอาการ
                                            ภายนอกที่เห็นได้เท่านั้น)
กระปรี้กระเปร่า               คล่องแคล่ว ว่องไว (รวมไปถึงสภาพจิตใจของ
                                            บุคคลผู้นั้นด้วย
กระชุ่มกระชวย               มีผิวพรรณผ่องใส หรือมีกิริยาอาการ
                                            กระปรี้กระเปร่า (รวมถึงมีจิตใจสดชื่นขึ้นด้วย)
ตัวอย่างประโยค
                เขาเดินอย่างกระฉับกระเฉงไปขึ้นรถ
                บรั่นดีเพียงเป๊กเดียวทำให้เขากระปรี้กระเปร่าและคึกคักขึ้น
หลังจากหายป่วยแล้ว ดูท่าทางเขากระชุ่มกระชวยขึ้นมาก

ตัวอย่างคำที่มีความหมายใกล้กันแต่เสียงไม่เหมือนกัน
คำ                           ความหมาย
ตัด                           บั่น รอน ทอน ทำให้ขาด
หั่น                         ตัดให้หลุดเป็นชิ้นๆ
ปาด                        ฝานบางๆ ตามส่วนราบ
เชือด                      ตัดให้หลุดออกมาเป็นชิ้นๆ ด้วยอาการรุนแรงกว่าเฉือน
เฉือน                      ตัดให้หลุดออกมาเป็นชิ้นๆ
สับ                          เอาของมีคมฟันลงไปโดยแรง
แล่                           เฉือนให้หลุดออกมาเป็นแผ่นบางๆ
เถือ                         ตัดให้หลุดเป็นชิ้น โดยต้องใช้แรงมาก
ซอย                        หั่นถี่ๆ

กิจกรรมที่ ๒
เรื่อง ความหมายของคำ

ชุดที่ ๑ เรื่องการใช้คำความหมายกว้างที่สุด ความหมายกว้าง ความหมายเฉพาะ
                ให้นักเรียนหาคำที่มีความหมายเฉพาะ ความหมายกว้าง ความหมายกว้างที่สุดในชุดเดียวกันมา ๔ ชุด
        ความหมายเฉพาะ                              ความหมายกว้าง                             ความหมายกว้างที่สุด
๑.                                                                                                                                                                                             
๒.                                                                                                                                                                                           
๓.                                                                                                                                                                                            
๔.                                                                                                                                                                                            

ชุดที่ ๒  เรื่องการใช้คำความหมายนัยประหวัด
                คำและความหมายต่อไปนี้ เป็นคำที่มีความหมายนัยประหวัดได้ด้วย จงอธิบายสั้นๆว่า มีความหมายไปในทางใด พร้อมยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนั้นในความหมายนัยประหวัดและความหมายตรง
                ตัวอย่าง คำ อัศวินขี่ม้าขาว
๑)     ความหมายนัยประหวัด ให้ความหมายในเชิงยกย่อง หมายถึงผู้มาช่วยเหลือได้ทันเวลา
๒)    ตัวอย่างประโยคความหมายนัยประหวัด            ดำเป็นอัศวินขี่ม้าขาวสำหรับบริษัทของเรา
๓)    ตัวอย่างประโยคความหมายตรง                          อัศวินขี่ม้าขาวของกษัตริย์อาเธอร์มีหลายคน
คำที่กำหนดให้
๑.      ดอกไม้พลาสติก
๑)     ความหมายนัยประหวัด หมายถึง                                                                                                   
๒)    ตัวอย่างประโยคความหมายนัยประหวัด                                                                                      
๓)    ตัวอย่างประโยคความหมายตรง                                                                                                     
๒.    ร่มโพ
๑)     ความหมายนัยประหวัด หมายถึง                                                                                                   
๒)    ตัวอย่างประโยคความหมายนัยประหวัด                                                                                      
๓)    ตัวอย่างประโยคความหมายตรง                                                                                                     
๓.     นางกากี
๑)     ความหมายนัยประหวัด หมายถึง                                                                                                   
๒)    ตัวอย่างประโยคความหมายนัยประหวัด                                                                                      
๓)    ตัวอย่างประโยคความหมายตรง                                                                                                     

ชุดที่ ๓ เรื่องการใช้คำที่มีความหมายใกล้กัน               
๑.      เทศบาลมี                      ที่จะตัดถนนอีกหลายสาย
ก.    หลักการ                                                                ข.    แผนการ
ค.    โครงการ                                                               ง.    กำหนดการ
๒.    เมื่อตำรวจรับแจ้งความเกี่ยวกับฆาตกรรมไว้แล้ว ได้รีบ                      หาตัวคนร้ายทันที
ก.    สืบสวน                                                                 ข.    สอบสวน
ค.    ไต่สวน                                                                  ง.    ไต่ถาม
๓.     การออกหนังสือพิมพ์จำต้องมี                         
ก.    บรรณาการ                                                            ข.    บรรณารักษ์
ค.    บรรณานุกรม                                                       ง.    บรรณาธิการ
๔.     ห้องสมุดนี้มี                         ที่มีความสามารถ
ก.    บรรณาธิการ                                                         ข.    บรรณานุกรม
ค.    บรรณารักษ์                                                           ง.    บรรณาการ
๕.     คณะกรรมการกำลัง                    ผู้กระทำผิด
ก.    สืบสวน                                                                 ข.    ไต่สวน
ค.    ไต่ถาม                                                                   ง.    สอบสวน
๖.      ศาลได้นัด                      ปากคำของโจทก์
ก.    สืบสวน                                                                 ข.    สอบสวน
ค.    ไต่สวน                                                                  ง.    สอบถาม
๗.     เขามีสติปัญญารอบคอบ                         ยิ่งนัก
ก.    เฉียบคม                                                                 ข.    เฉียบแหลม
ค.    หลักแหลม                                                            ง.    แหลมคม
๘.     การไปชมพิพิธภัณฑสถานจัดเป็น                      นอกหลักสูตรได้อย่างหนึ่ง
ก.    กิจการ                                                                    ข.    กิจกรรม
ค.    ภารกิจ                                                                    ง.    ธุรกิจ
๙.      เขาไม่มาสักที                       วันอยู่เรื่อย
ก.    ผัด                                                                           ข.    ผลัด
ค.    เปลี่ยน                                                                   ง.    ผลัดเปลี่ยน
๑๐.  ในยาม                       บัณฑิตย่อมีจิตใจมั่นคงไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคที่ขวางหน้า
ก.    คับใจ                                                                      ข.    คับขัน
ค.    คับแค้น                                                                  ง.    คับแคบ


การสรรใช้คำ
                การเขียนที่ดีนอกจากจะรู้คำมากเพียงพอที่จะสื่อสารให้ตรงกับความต้องการแล้ว ยังจะต้องรู้จักการใช้ระดับของภาษาให้เหมาะสม การใช้ภาษาที่มีความหมายกระชับ และการประหยัดถ้อยคำด้วย
๑.       การใช้ระดับของภาษาให้เหมาะสม
คนไทยมีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ดังจะเห็นได้ว่าเรามีคำราชาศัพท์ เพื่อใช้ให้เหมาะสมตามชั้นของบุคคล ฉะนั้นในการใช้คำผู้ใช้จึงควรพิถีพิถันเลือกใช้ให้เหมาะสมตามบุคคลและโอกาส จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา
การแบ่งระดับภาษา โดยทั่วไป แบ่งตามลักษณะของการใช้ออกเป็น ๓ ระดับ ดังนี้
๒.    ระดับภาษาปาก
๓.     ระดับภาษากึ่งแบบแผน
๔.     ระดับภาษาแบบแผน
ภาษาทั้ง ๓ ระดับนี้ ควรใช้ให้ถูกต้อง เหมาะสมกับโอกาส บุคคล และสถานการณ์ ดังนี้
๑.       ระดับภาษาปาก เป็นที่ใช้กับบุคคลที่สนิทสนมคุ้นเคย หรือกับบุคคลที่ไม่ต้องระวังให้สุภาพ เช่น ภาษาภายในกลุ่มของวัยรุ่น ภาษาถิ่น ภาษาที่ใช้ในการเขียนบันทึกส่วนตัว เป็นต้น
๒.     ระดับภาษากึ่งแบบแผน เป็นภาษาของสุภาพชน ใช้พูดกับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกันนัก เช่นการพูดในที่ประชุม การอภิปราย การแนะนำ การเขียนจดหมายกิจธุระ การประกาศ แจ้งความ การเขียนบทวิจารณ์ บทสัมภาษณ์ เป็นต้น
๓.      ระดับภาษาแบบแผน เป็นภาษาที่ใช้ในโอกาสที่เป็นพิธีการยิ่งกว่าภาษากึ่งแบบแผน ภาระดับนี้เหมาะสมที่จะใช้ในการปาฐกถา การให้โอวาท คำปราศรัย จดหมายราชการ ตำรา แบบเรียน พจนานุกรม เอกสารทางราชการ คำตอบข้อสอบ เป็นต้น
ตัวอย่างคำ
ภาษาปาก                      ภาษากึ่งแบบแผน                        ภาษาแบบแผน
กู ข้า                               หนู ผม ฉัน                                   ข้าพเจ้า
ซัด ล่อ เล่น                   กิน รับ                                           รับประทาน
เยอะ                               มาก                                                มาก
พ่อ แม่                           คุณพ่อ คุณแม่                              บิดา มารดา
ผัว เมีย                           สามี ภรรยา                                   สามี ภรรยา
ดับ                                  ตาย                                                 ถึงแก่กรรม
ตีน                                  เท้า                                                  เท้า
กบาล                              หัว                                                  ศีรษะ
ตัวอย่างประโยค
เมื่อเช้ากูล่อก๋วยเตี๋ยว ๒ ชาม                            เป็น        ระดับภาษาปาก
เมื่อเช้าฉันกินก๋วยเตี๋ยว ๒ ชาม                        เป็น        ระดับภาษากึ่งแบบแผน
เมื่อเช้าดิฉันรับประทานก๋วยเตี๋ยว ๒ ชาม     เป็น        ระดับภาษาแบบแผน
๒.     การใช้ภาษาที่มีความหมายชัดเจน และไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย การใช้ภาษาที่มีความหมายชัดเจน คือ การใช้ภาษาที่บ่งบอกความหมายเพียงอย่างเดียวหรือมีความรัดกุมไม่แปลความได้หลายความหมาย เช่น
เขาทำตัวอย่างนี้ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจแปลความได้มากกว่า ๑ ความหมาย คือ
ความหมายที่ ๑            เขาทำตัวอย่างข้อนี้ไม่ถูกต้อง
ความหมายที่ ๒           เขาประพฤติตัวอย่างนี้ไม่ถูกต้อง
ในข้อความหรือประโยค การที่จะใช้คำแต่ละคำนั้นต้องใช้อย่างประหยัดถ้อยคำและต้องไม่ทำให้คำนั้นเป็นคำฟุ่มเฟือย ฉะนั้นการบรรจุคำแต่ละคำลงไปจะต้องได้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ใน ๓ ประการ คือ ให้ความรู้เพิ่มขึ้น ให้เกิดความเข้าใจดียิ่งขึ้น และให้เกิดทรรศนะหรือความคิดเห็นเพิ่มขึ้น[3]
ในแต่ละข้อความหรือแต่ละประโยคให้สังเกตว่า ถ้าตัดคำใดออกแล้วไม่ทำให้เสียความ ก็ถือว่าคำนั้นเป็นคำที่ใช้อย่างไม่ประหยัดถ้อยคำ หรือเป็นคำฟุ่มเฟือยให้ตัดออกได้ เช่น
เจ้าหน้าที่ตำรวจเอาหนังสือพิมพ์ปิดศพผู้ตาย
แดงรู้สึกพอใจในการที่ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าชั้น
รายงานฉบับนี้คงมีประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย
การขายครั้งนี้เขามีกำไรไม่ขาดทุน
จะเห็นว่าคำที่ขีดเส้นใต้ทั้งสี่ประโยคเป็นคำฟุ่มเฟือยสามารถตัดออกได้ เพราะเมื่อตัดแล้วไม่ทำให้เสียความแต่อย่างใด

การแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำ
                ผู้ที่อ่านหนังสือ เมื่อพบคำที่ใช้ผิด หรือใช้ไม่เหมาะสมแล้วสามารถที่จะแก้ไขคำเหล่านั้นให้ถูกต้องได้ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย การแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำที่บกพร่องอาจทำได้ดังนี้ คือ
๑.       หาคำมาเสริมคำที่ขาดอยู่
ข้อความหรือประโยคบางครั้งถ้าขาดคำบางคำก็ทำให้ข้อความหรือประโยคนั้นขาดความชัดเจน มีความหมายไม่กระชับ หรืออาจตีความได้หลายความหมายทำให้ยากแก่การเข้าใจ จึงควรเติมคำบางคำเข้าไป เพื่อให้ความหมายของข้อความ หรือประโยคมีความหมายกระชับรัดกุม ไม่กำกวม เช่น
เขาต่อว่าอะไร อาจะเป็น เขาต่อว่าต่อขานอะไร หรือ เขาพูดต่อมาว่าอะไร
๒.     ตัดคำทีเกินออก
บางคำเมื่อเกินมาจะทำให้ข้อความ หรือประโยคมีความหมายคลุมเครือ หรือมีความหมายหลายอย่างก็ควรตัดกำเหล่านั้นออก เช่น
ตำรวจทำการตรวจค้นบ้านผู้ต้องสงสัย
ทางโรงเรียนจะทำการปฐมนิเทศนักเรียนใหม่เร็วๆ นี้
ในทุกวันนี้เราต้องทำงานแข่งกับเวลา
จะเห็นคำที่ขีดเส้นใต้แต่ละตัวอย่างตัดออกได้โดยไม่ทำให้เสียความแต่อย่างใด
๓.      เปลี่ยนคำใหม่
บางครั้งมีการใช้คำผิดความหมาย ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง และระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาด เช่น
เขาอดนอน ๑ คืน ต้องนอนชดใช้ถึง ๓ วัน
                        ควรแก้เป็น
เขาอดนอน ๑ คืน ต้องนอนชดเชยถึง ๓ วัน

กิจกรรมที่ ๓
เรื่อง การใช้ระดับภาษาและการแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำ

ชุดที่ ๑  เรื่องการใช้ระดับของภาษาให้เหมาะสม
ก.      ให้พิจารณาว่า ประโยคต่อไปนี้เป็นการใช้ภาษาในระดับใด
๑.      อย่ามาทำเป็นจุกจิกหน่อยเลย
๒.    พญาเพลเลสได้เห็นน้ำใจอันห้าวหาญก็มีความพอใจ
๓.     พ่อของไมเคิลพูดว่าจิตรกรไม่สามารถที่จะหาเงินได้มากนัก
๔.     เออ...นี่เราคงเข้ามาอยู่ในวิมานเป็นแน่ สบายพิลึก
๕.     การเขียนงานประเภทใดก็ตามผู้เขียนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายในการเขียนให้ชัดเจน
ข.      จงแก้ไขประโยคต่อไปนี้ให้เป็นภาษาระดับภาษาแบบแผน
๑.      หุบปากเหอะ ฉันไม่เห็นว่าเรื่องแค่นั้นจะเป็นการเก่งกาจอะไรเลย
๒.    ดำรง เป็นลูกหม้อมหาดไทย
๓.     ฉันยังทำการบ้านไม่เสร็จเลย คงโดนครูสวดอีกแน่
๔.     อาจารย์สาธรเจ๋งที่สุดในหมวดภาษาไทย
๕.     ท่าทางของกิติพงษ์กวนโอ๊ยจริงๆ

ชุดที่ ๒ เรื่องการเสริมคำที่ขาดอยู่
        จงหาคำมาเสริมคำที่ขาดอยู่ เพื่อให้ได้ใจความสมบูรณ์ และมีความกระชับ
๑.      เมื่อวานฉันกินข้าวกับแกงส้มปลาทูทอด
๒.    น้ำมันหมดรีบไปซื้อให้หน่อย
๓.     นารีรู้เท่าณรงค์
๔.     หนังสือพิมพ์ที่คุรุสภาขายดี
๕.     ดุสิตขาดทุนจึงไม่สามารถเปิดกิจการได้

ชุดที่ ๓ เรื่องการตัดคำที่เกินออก
        จงขีดเส้นใต้คำที่ตัดออกได้โดยไม่ทำให้เสียความหมาย
๑.      ทางโรงเรียนจะทำการปฐมนิเทศนักเรียนใหม่เร็วๆ นี้
๒.    ในทุกวันนี้เราต้องทำงานแข่งกับเวลา
๓.     ข้าพเจ้ารู้สึกซาบซึ้งตรึงใจในความมีน้ำใจของเขา
๔.     เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ทุกคนช่วยกันทำงานอย่างกระฉับกระเฉง
๕.     กระประชุมจะมีการกระทำกันขึ้นที่สโมสรกองทัพบก
๖.      วันต่อไปน้าป๋อจะมาสอนวาดรูปภาพค่ะ

ชุดที่ ๔ เรื่องการเปลี่ยนคำใหม่ให้เหมาะสม
        จงแก้ไขคำที่ขีดเส้นใต้ให้ถูกต้องเหมาะสม
๑.      การทิ้งก้นบุหรี่ หรือขยะมูลฝอยในที่สาธารณะจะเป็นที่ดูแคลนแก่คนต่างด้าว                               
๒.    ระนาดตัวนี้ เป็นของพระประดิษฐ์ไพเราะ                                                                                              
๓.     ทุกคนต่างทำหน้าที่ซึ่งกันและกันเพื่อความผาสุกของสังคม                                                               
๔.     แม้ลมว่าวจะหนาวเพียงใดก็ตามหากความหนาวใจนั้นหนาวยิ่งกว่า                                                 
๕.     สิ่งที่เรายึดถือ เป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตเรียกว่าอุดมการณ์                                                    
๖.      ในยามคับแค้นบัณฑิตย่อมมีจิตใจมั่นคงไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคที่ขวางหน้า                                     
๗.     แกงจืดชามนี้จะอร่อยถ้าได้เหยาะพริกไทยลงไปสักเล็กน้อย                                                               
๘.     คณะกรรมการได้กำหนดมาตรการสินค้าขาออกเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าประเภทต่างๆ และให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยึดถือเป็นมาตรฐานปฏิบัติต่อไปบรรทัดฐานนี้อาจช่วยให้ดุลการค้าของไทยดีขึ้น                                             
๙.      แต่ก่อนกรุงเทพมหานครไม่มีขยะมูลฝอยเรี่ยราดตามท้องถนนเหมือนปัจจุบัน                              
๑๐.  เธอมีพื้นฐานดีพอที่จะเรียนต่อในระดับปริญญา                                                                                     
ชุดที่ ๕ เรื่องคำ ความหมาย และการสรรใช้คำ
        คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อความใดสะกดผิด
๑.            ก.    นภศูล คือ ยอดปราสาท
                ข.    ขนมจานนี้รสชาติอร่อยดี
                ค.    อย่าโศกเศร้ากำสรวลนักเลย
                ง.    อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่ลืมไม่ลง
๒.           ก.    นิคมชอบสะพายย่าม
                ข.    ชนีมีลักษณะคล้ายลิง
                ค.    บริษัทนี้มีพนักงานหลายคน
                ง.    นักเรียนใหม่กระตือรือร้นดีทุกคน
๓.           ก.    นารีรัตน์ชอบซ่าหริ่ม
                ข.    ต้อยผมหยักโศกดูสวยดี
                ค.    ถนนพหลโยธินเป็นถนนลาดยาง
                ง.    เงาะโรงเรียนล่อนกว่าเงาะสีชมพู
๔.           ก.    ความผาสุกทุกคนต้องการ
                ข.    คนที่ชอบเบียดเบียฬผู้อื่นเป็นคนไม่ดี
                ค.    อย่าตั้งกฎเกณฑ์ให้คนอื่นทำตามเรา
                ง.    พฤติกรรมย่อมส่อถึงกำพืดของคนคนนั้น
๕.           ก.    ไก่ฟ้ามีสีสันสวยงาม
                ข.    ในป่านี้มีสัตว์นานาพันธุ์
                ค.    ทะเลสาปสงขลามีนกหลายชนิด
                ง.    การปล้นโดยวางยาให้หลับเรียกว่าปล้นสะดม
๖.            ก.    บางคนแพ้เกสรดอกไม้
                ข.    น้องเล็กชอบไอศกรีมกะทิสด
                ค.    ทำงานให้ปราณีตหน่อยนะจ๊ะ
                ง.    ดวงจันทร์คืนนี้มีรัศมีสวยงามจับตา
๗.           ก.    บ้านอะไรขายอาหลั่ยรถยนต์
                ข.    แสงอาทิตย์มีรังสีอุลราไวโอเลต
                ค.    ถ้ามีโอกาสฉันจะไปท่องแม่น้ำอะเมซอน
                ง.    เขารู้สึกภาคภูมิมากที่จะแสดงให้ใครทราบว่าเขาเป็นนักเรียนโรงเรียนนี้
๘.           ก.    น้องบอบบางน่าทนุถนอม
                ข.    สวนลุมพินีเป็นสาธารณสถาน
                ค.    การพูดต้องคำนึงถึงกาลเทศะ
                ง.    หนังสือการ์ตูนบางเล่มไม่ให้สาระประโยชน์เลย
๙.            ก.    มารศรีทำท่าชมดชม้อย
                ข.    ฉันชอบกินผัดกระเพราไก่
                ค.    บ้านหลังนั้นขนาดกระทัดรัดดี
                ง.    เขาหยุดรถอย่างกะทันหัน เมื่อเห็นเด็กข้ามถนน
๑๐.         ก.    กล้วยบวชชีเป็นชื่อขนม
                ข.    อ้อยมีความจำนงจะไปเที่ยวภาคใต้
                ค.    ต้นบอระเพชรบ้านน้อยมีหลายพันธ์
                ง.    ไม่มีสถานที่ไหนจะน่ารื่นรมย์เท่าที่นี่

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน
บทที่ ๑ เรื่อง คำ ความหมาย และการสรรใช้คำ

คำสั่ง      จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในกระดาษคำตอบ

ข้อ ๑. ข้อ ๕. คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อความใดสะกดผิด
๑.    ก.    อย่าพูดสับปลับไม่ดี
        ข.    สันนิฐานว่าเขาลาออก
        ค.    ใบสูจิบัตรงานโรงเรียนหาย
        ง.    สูติบัตรใช้เมื่อสมัครเรียนชั้น ป. ๑
๒.   ก.    ขยุ้มมาเลยดีกว่า
        ข.    เขามีอาการขะยักขย้อน
        ค.    อย่าใช้ขัณฑสกรมากนัก
        ง.    กระโตกกระตากอย่างนี้ไม่ดี
๓.   ก.    ท่านปั้นข้าวชูขึ้นก็เพื่อเห็นการระลึกถึงคุณแม่โพสพ
        ข.    การกระทำดังนี้เป็นอานิสงฆ์ไป ณ ที่ใดจะปลอดภัยประสพโชคลาภ
        ค.    ข้าพเจ้าจึงเรียนถามถึงกิริยาซึ่งท่านทำให้ข้าพเจ้าพิศวง และขบขันเมื่อเยาว์วัย
        ง.    ถ้าปล่อยกระแสแห่งความแค้นเคือง ความริษยาอาฆาตออกไปจากดวงจิต โลกก็จะระงมไปด้วยความเร่าร้อน
๔.   ก.    ปีนี้เป็นปีอธิกมาส
        ข.    คุณน้าเกษียณอายุปีนี้
        ค.    พระมาบิณฑบาตที่บ้านฉันทุกวัน
        ง.    วัยเบญเพศหลายคนประสบโชคร้าย
๕.   ก.    กาลปักษ์ คือ คืนข้างแรม
        ข.    เรือนพักของพระสงฆ์เรียกว่ากุฏิ
        ค.    ขุนแผนเทศน์กัณฑ์มัทรีได้ไพเราะมาก
        ง.    กุมกรรณเป็นชื่อยักษ์ในเรื่องรามเกียรติ์


๖.    คำที่ขีดเส้นใต้ในประโยคใดมีความหมายเฉพาะที่สุด
        ก.    สวนสัตว์ดุสิตมีเสือหลายตัว
        ข.    สวนสัตว์ดุสิตมีสัตว์หลายตัว
        ค.    สวนสัตว์ดุสิตมีสัตว์ป่าหลายตัว
        ง.    สวนสัตว์ดุสิตมีเสือดาวหลายตัว
๗.   คำที่ขีดเส้นใต้ในประโยคใดมีความหมายตรงสามารถเข้าใจได้โดยไม่ต้องตีความ
        ก.    นางกากีสมัยนี้มีมาก
        ข.    สุธีคือเจ้าเงาะของฉัน
        ค.    วันนี้ท้องฟ้าไร้เมฆฝน
        ง.    เขาไม่ทราบเลยว่าเขาทำให้เกิดหมอกในใจฉัน
๘.   คำที่ขีดเส้นใต้ในประโยคใดให้ความหมายนัยประหวัดในทางที่ดี
        ก.    กนกเป็นนกขมิ้นมาตั้งแต่เด็กแล้ว
        ข.    พายุแฝงเร้นอยู่ในใจของายสมร
        ค.    การศึกษาคือทางแห่งสายรุ้งของนรี
        ง.    นทีแต่งตัวภูธรแต่เพื่อนๆ ก็รักเขาทุกคน
๙.    ประโยคใดใช้คำได้ถูกต้องที่สุด
        ก.    สุ้มเสียงหัวเราะของเธอสดใสเหมือนระฆังเงิน
        ข.    เธอเข้ามาเงียบๆ ไม่ให้น้ำเสียงทำให้ฉันตกใจ
        ค.    คุณศิริพรเป็นผู้ให้เสียงภาษาไทยในภาพยนตร์เรื่องนี้
        ง.    ต่อไปนี้ขอเชิญท่านรับฟังเสียงเพลงอันไพเราะจากคุณสุเทพได้เลยค่ะ
๑๐. ประโยคใดใช้คำไม่เหมาะสม
        ก.    ประชาชนมาประชุมเพื่อซื้อสินค้าลดราคา
        ข.    พอมาถึงเขาก็สอดส่ายสายตามองหาเธอ
        ค.    ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคน
        ง.    ตำรวจมีหน้าที่ป้องกันอาชญากรรม






ข้อ ๑๑. ข้อ ๑๒. ให้พิจารณาว่าข้อความที่กำหนดให้เป็นภาษาในระดับใด
ก.      ระดับภาษาปาก
ข.      ระดับภาษากึ่งแบบแผน
ค.      ระดับภาษาแบบแผน
๑.      ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่พร้อมด้วยวาจาอันไพเราะ ความรู้ปราศจากโอ้อวด ความกล้าปรกอบด้วยอดทน ทรัพย์ปรกอบด้วยสละแจกปัน ๔ นี้ เป็นทางอันเจริญ หาได้ยาก
๒.          น้าข้าโหดกว่าว่ะ เพราะเพียงแต่คนเหยียบเงาแก แกก็อัดจนต้องหยอดน้ำข้าวต้ม
๓.           ข้อความใดต่อไปนี้ส่งสารคลุมเครือมากที่สุด
        ก.    ไม่จ่าย ๕ ล้าน เผารง. ตร.ย้อนรอยจับตัวได้
        ข.    ดำรงไม่ได้มางานนี้เพราะเขาติดประชุมที่ต่างจังหวัด
        ค.    จะเป็นแมวสีอะไรก็ได้ทั้งนั้น ขอให้จับหนูได้ก็แล้วกันน่ะ
        ง.    ผมไม่ปฏิเสธว่ายำจานนี้อร่อยมาก แต่อยากทราบว่าคุณเอาเนื้ออะไรมาทำ
๔.           ข้อความใดมีความหมายชัดเจนที่สุด
        ก.    ที่นี่จำหน่ายหมู
        ข.    โรงเรียนนี้เปิดเมื่อไร
        ค.    หนังสือเล่มนี้มีค่ามาก
        ง.    รถชนคนในซอยบ้านฉัน
๕.           ข้อความต่อไปนี้ มีข้อบกพร่องในด้านใด
ทีมฟุตบอลของเรามีชัยชนะไม่เสียทีแก่คู่ต่อสู้ฝ่ายตรงข้าม
        ก.    ใช้คำขยายไม่ถูก
        ข.    ใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย
        ค.    ใช้คำไม่เหมาะสม
        ง.    ใช้คำภาษาต่างประเทศ
๖.            ประโยคใดต้องหาคำมาเสริมจึงจะได้ความชัดเจน
        ก.    เขาไปโรงเรียนตั้งแต่เช้า
        ข.    ครูมีความหวังดีต่อศิษย์เสมอ
        ค.    น้ำมันหมดแล้วจะทำอย่างไร
        ง.    เขาขาดต้นทุนจึงต้องเลิกกิจการ



ข้อ ๑๗. ข้อ ๑๘. ข้อความใดมีคำเกินถ้าไม่ตัดคำบางคำออกจะทำให้เกิดการใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย
๑๗.    ก.    รวมกำลังคร่ำเคร่งทำงาน
            ข.    เขาค่อยๆ เดินไปข้างหน้าอย่างช้าๆ
            ค.    ผู้มีความมัธยัสถ์ย่อมมีความรอบคอบรู้จักเก็บรู้จักใช้
            ง.    เครื่องแต่งกายเป็นเพียงส่วนประกอบสำหรับเสริมบุคลิกเท่านั้น
๑๘.    ก.    โลกนี้เหมือนศาลาพักร้อน
            ข.    สังคมปัจจุบันมีปัญหานานาประการ
            ค.    การเติบโตของประเทศไม่ได้อยู่ที่มีความเจริญของกรุงเทพฯ
            ง.    การไปชมพิพิธภัณฑ์สถานให้ประโยชน์แก่เรามากมายหลายประการ


ข้อ ๑๙. ข้อ ๒๐. ให้เปลี่ยนคำที่ขีดเส้นใต้เสียใหม่ให้เหมาะสม
๑๙.       รายงานฉบับนี้คงเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ไม่มากก็น้อย
        ก.    มาก                                                                                ข.    ไม่น้อย
        ค.    ตามสมควร                                                                   ง.    ตามความสนใจ
๒๐.      วีรพงศ์คร่ำครึอยู่ในวงการแสดงมานานแล้ว
        ก.    คร่ำหวอด                                                                      ข.    คร่ำครวญ
        ค.    คร่ำคร่า                                                                          ง.    คร่ำ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -






















ตำราและหนังสือประกอบ
กำชัย ทองหล่อ.  หลักภาษาไทย.  พิมพ์ครั้งที่  ๘.  กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์,  ๒๕๓๓.
เจือ สตะเวทิน.  ภาษาไทยการใช้ภาษาและหลักภาษา.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์,
๒๕๑๐.
ธนู บุณยรัตพันธุ์.  นวกรรมประยุกต์วิทยาทางการสอน เอกสารการนิเทศการศึกษาฉบับที่ ๑๗๙
หน่วยศึกษานิเทศก์กรมการฝึกหัดครู.
  กรุงเทพฯ
: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๑๙.
บุปผา บุญทิพย์.  ความรู้ทั่วไปของภาษาไทย ตอน ๒. การใช้ภาษาไทย.  พิมพ์ครั้งที่ ๓. 
กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด แสงจันทร์การพิมพ์, ๒๕๑๓.
ประเทือง คล้ายสุบรรณ์.  อ่านเขียนคำไทย.  กรุงเทพฯ : สุทธิสารการพิมพ์, ๒๕๒๙.
ปรีชา ช้างขวัญยืน.  ศิลปการเขียนชุดพื้นฐานของการใช้ภาษา.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิชาการ, ๒๕๒๕.
ผะอบ โปษะกฤษณะ.  ลักษณะสำคัญของภาไทย การเขียน การอ่าน การพูด การเขียน.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักเลขารัฐมนตรี, ๒๕๒๑.
พ. นพวรรณ.  การใช้ภาษาไทย ๒.  กรุงเทพฯ : บริษัทพลพันธ์การพิมพ์ จำกัด, ๒๕๒๗.
ราชบัณฑิตยสถาน.  อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร.  พิมพ์ครั้งที่ ๖.  กรุงเทพฯ : บริษัทเพื่อนพิมพ์ จำกัด, ๒๕๓๐.
วรรณ แก้วแพรก.  การใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียวสโตร์, ๒๕๒๔.
วิเชียร ณ นคร และวิเชียร มาลากาญจน์.  เอกสารประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, ๒๕๑๕.
                .  เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาไทย.  นครศรีธรรมราช : วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช, ๒๕๑๓.
เสนีย์ วิลาวรรณ.  การเขียน ๑.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด, ๒๕๓๑.
                .  แบบฝึกการเรียนทักษพัฒนาเล่ม ๑.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด, ๒๕๒๔.
สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และอุดม หนูทอง.  การเขียน ๑.  พิมพ์ครั้งที่ ๕.  กรุงเทพฯ : บริษัทโรงพิมพ์
ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, ๒๕๓๑.

 - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


[1] สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. หลักภาษาไทย. ม.ป.ป. หน้า ๒๙๘
[2] กุหลาบ มัลลิกะมาศ และวิพุธ โสภวงศ์. การเขียน ๑. ม.ป.ป. หน้า ๑๓.
[3] สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. ภาษาไทย ๓๑๑ การเขียน. ๒๕๓๑. หน้า ๑๓.

1 ความคิดเห็น: