วรรณคดีกับชีวิต

1. ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับสังคม
จาก ตรีศิลป์ บุญขจร. นวนิยายกับสังคมไทย.
กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
หน้า 4-9.
[ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคม]
          ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคม เป็นเรื่องที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ทั้งนี้เพราะนักเขียนคนเดียวเปรียบเสมือนคนสามคน คือเป็นนักประพันธ์ เป็นหน่วยหนึ่งของคนรุ่นนั้น และเป็นพลเมืองของสังคม (วิทย์ ศิวะศริยานนท์, "วรรณคดีและสังคม" ใน วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์, พิมพ์ครั้งที่ 4 (พระนคร: สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย, 2514), หน้า 185.) นักเขียนจึงยากที่จะหลีกเลี่ยงอิทธิพลของสังคมในยุคสมัยของตนได้
[วรรณกรรมกับสังคม]
          ดังได้กล่าวแล้วว่า วรรณกรรมย่อมสัมพันธ์กับสังคม วรรณกรรมสะท้อนประสบการณ์ชีวิตในยุคสมัย ไม่ว่านักเขียนจะจงใจสะท้อนสังคมหรือไม่ก็ตาม นักวิจารณ์บางคนจึงกล่าวว่า วรรณกรรมเป็นคันฉ่องแห่งยุคสมัย (คำกล่าวนี้มีต้นกำเนิดจาก De Bonald ที่ว่า "วรรณกรรมเป็นการแสดงออกของสังคม" ("Literature is an expression of society.") ดู Rene Wellek and Austin Warren, "Literature and Society," in Theory of Literature (London: Penguin Books, 1973), p. 95. ต่อมาจึงมีคำกล่าวอื่นๆ เช่น "วรรณกรรมเป็นคันฉ่องของยุคสมัย" ("Art mirrors the age.") ซึ่งเป็นคำแปลของ บรรจง บรรเจอดศิลป์ ใน ศิลปวรรณคดีและชีวิต) เนื่องจากเป็นภาพถ่ายชีวิตของยุคสมัยนั่นเอง
ความสัมพันธ์ของวรรณกรรมกับสังคมอาจะเป็นไปได้ 3 ลักษณะ คือ
          ลักษณะแรก วรรณกรรมเป็นภาพสะท้อนของสังคมทั้งในด้านรูปธรรมและนามธรรม ด้านรูปธรรม (หมายถึงภาพที่มองเห็นด้วยตา)  หมายถึง เหตุการณ์ทั่วไปที่เกิดขึ้นในสังคม ส่วนด้านนามธรรมหมายถึง ค่านิยมในชีวิตจิตใจของคนในสังคม ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียน Raymond Williams ผู้ศึกษาวรรณกรรมเชิงสังคม เรียกนามธรรมในวรรณกรรมว่าเป็น "โครงสร้างของความรู้สึก" (Diana Laurenson and Alan Swingewood, The Sociology of Literature (London: Paladin, 1972), p. 16.)  ซึ่งหมายถึงทั้งค่านิยม ความรู้สึก ความปรารถนาและชีวิตจิตใจของคนในทัศนะ และความรู้สึกของผู้เขียน ดังนั้น วรรณกรรมจึงเป็นการตอบสนองทั้งทางด้านการกระทำและความคิดของมนุษย์ต่อสังคม
          นักเขียนบางคนมีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นอย่างมาก เขาจะสะท้อนความปรารถนาที่จะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น วรรณกรรมของเขาฉายให้เห็นสิ่งที่เรียกว่าอุดมการณ์ ซึ่งอาจจะเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองก็ได้
          อุดมการณ์ที่สะท้อนในวรรณกรรมอาจเป็นไปได้ทั้งสองลักษณะ คือลักษณะแรก ผู้เขียนมิได้จงใจ แต่พิจารณาได้จากโลกทัศน์และชีวทัศน์ของเขา ลักษณะที่สอง ผู้เขียนจงใจหยิบยกอุดมการณ์มาเป็นเนื้อหาของวรรณกรรม
          ดังนั้น การพิจารณาวรรณกรรมในฐานะเป็นภาพสะท้อนของสังคม จึงควรให้ความสำคัญกับตัววรรณกรรม และกลวิธีในการเสนออุดมการณ์ที่อาจปรากฏในวรรณกรรมชิ้นนั้นๆด้วย
          ลักษณะที่สอง สังคมมีอิทธิพลต่อวรรณกรรมหรือต่อนักเขียน นักเขียนอยู่ในสังคมย่อมได้รับอิทธิพลจากสังคมทั้งด้านวรรณกรรม ขนบประเพณี ศาสนา ปรัชญา และการเมือง สภาพการณ์ของปัจจัยเหล่านี้ย่อมเป็นสิ่งกำหนดโลกทัศน์และชีวทัศน์ของเขา การพิจารณาอิทธิพลของสังคมต่อนักเขียน ควรให้ความสนใจว่านักเขียนได้รับอิทธิพลต่อสังคมมาอย่างไร และเขามีท่าทีสนองตอบต่ออิทธิพลเหล่านั้นอย่างไร
          อิทธิพลของสังคมที่มีต่อวรรณกรรมยังเป็นไปได้ในอีกลักษณะหนึ่งคือ สภาพเศรษฐกิจและการเมืองกำหนดแนวโน้มของวรรณกรรม ปัจจัยทางเศรษฐกิจอาจทำให้นักเขียนต้องเขียนตามใจผู้อ่าน หรือตามใจเจ้าของสำนักพิมพ์ ส่วนด้านการเมือง การจำกัดขอบเขตในการแสดงความคิดเห็นก็เป็นการบั่นทอนเสรีภาพของนักเขียน ฐานะของนักเขียนในสังคมจึงเป็นสิ่งที่ควรสนใจ นักเขียนที่ดีจะปลดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระจากการบีบบังคับทางเศรษฐกิจทางเศรษฐกิจ Lucien Goldmann นักวิจารณ์วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งเรียกนักเขียนที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลทางสังคมว่า "นักเขียนชั้นสอง"
          ลักษณะที่สาม วรรณกรรมหรือนักเขียนมีอิทธิพลต่อสังคม นักเขียนที่ยิ่งใหญ่นอกจากจะเป็นผู้มีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์วรรณกรรมให้มีชีวิต โน้มน้าวจิตใจผู้อ่านแล้วยังเป็นผู้มีทัศนะกว้างไกลกว่าคนธรรมดา ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขามีความเข้าใจและเข้าถึงสภาพของมนุษย์และสังคม Leo Lowenthal นักสังคมวิทยากล่าวว่า "ศิลปินวาดภาพที่เป็นจริงเสียยิ่งกว่าตัวความจริงเอง" ซึ่งหมายถึง นักเขียนสามารถเข้าใจโลกและมองสภาพความเป็นจริงได้ลึกกว่าคนทั่วไปมองเห็นด้วยทัศนะที่กว้างไกลและลุ่มลึก ภาพที่เขาให้จึงเป็นจริงยิ่งกว่าความเป็นจริง เพราะเป็นแก่นแท้ที่กลั่นกรองแล้วของความเป็นจริง ด้วยเหตุนี้วรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่จึงเป็นอมตะ เพราะไม่เพียงแต่จะเสนอภาพปัจจุบันอย่างถึงแก่นของความเป็นจริงเท่านั้น แต่ยังคาดคะเนความเป็นไปได้ในอนาคตได้อีกด้วย
          อิทธิพลของวรรณกรรมต่อสังคมอาจเป็นไปได้ทั้งด้านอิทธิพลภายนอก เช่น การแต่งกาย หรือการกระทำตามอย่างในวรรณกรรม และอิทธิพลภายในคือ อิทธิพลทางความคิด การสร้างค่านิยมรวมทั้งความรู้สึกนึกคิด นักเขียนจึงมีบทบาทในฐานะผู้นำแนวความคิดของสังคม และผู้นำทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่ง
          การศึกษาความสัมพันธ์ของวรรณกรรมกับสังคมทั้ง 3 ลักษณะดังได้กล่าวมานี้ จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นหากผู้ศึกษาให้ความสนใจกับโลกทัศน์ในวรรณกรรม ทั้งนี้เพราะวรรณกรรมเป็นภาพชีวิตที่มีลักษณะ "เหมือนจริง" ซึ่งสะท้อนผ่านโลกทัศน์ของนักเขียนแต่ละคน (ศูนย์กลางของเนื้อหาในวรรณกรรมเกี่ยวข้องกับมนุษย์เสมอ ผู้เขียนกำหนดจุดมุ่งหมายเลือกเนื้อหา เพื่อถอดแบบธรรมชาติตามโลกทัศน์ของเขาแล้วจึงเลือกสรรรูปแบบให้กลมกลืนกับเนื้อหา)  ไม่ใช่ภาพชีวิตจากประสบการณ์โดยตรง
          โลกทัศน์ หรือ ทัศนะต่อโลก หมายถึง ความคิดเห็นของนักเขียนในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตนกับโลก โลกทัศน์จึงคลุมความกว้างขวาง เป็นความคิดซับซ้อนผสมผสานของประสบการณ์และอารมณ์ ทั้งยังเป็นที่มาของแรงบันดาลใจของ นักเขียน อาจกล่าวได้ว่า โลกทัศน์เป็นตัวกำหนดโครงสร้างภายในของวรรณกรรมทำให้นักเขียนเลือกเขียนเรื่องแต่ละประเภท ตลอดจนเลือกสร้างตัวละครและองค์ประกอบอื่นๆ
          โลกทัศน์ หรือ Weltanschauung (Weltanschuung เป็นศัพท์ทางวรรณกรรม เกิดจากนักคิดซึ่งสืบทอดการศึกษาจาก A.O. Lovejoy ผู้เริ่มการศึกษาประวัติศาสตร์ความคิดของนักเขียนที่ไม่ใช่เจ้าลัทธิปรัชญาและเห็นว่าทัศนะในวรรณกรรมเป็นความคิดเชิงปรัชญาอย่างเจือจาง ผู้ศึกษาสมัยหลังเช่น Rudolf Unger จนถึง Dilthy จึงเรียกความคิดเชิงปรัชญาที่ผสมผสานกับทัศนะด้านอารมณ์นี้ว่า Weltanschaunng การศึกษาแนวนี้แพร่หลายมากใน   เยอรมันนี  ในที่นี้จะใช้คำว่า Weltanschauung ในความหมายว่าโลกทัศน์ ส่วน ideology หมายถึงอุดมการณ์หรือโลกทัศน์ขั้นอุดมคติ)  เป็นนามธรรมซึ่งมิได้หมายถึงข้อเท็จจริง (facts) แต่เป็นโครงสร้างของความคิดและอารมณ์ ซึ่งประสานตัวขึ้นมาจากประสบการณ์หรืออาจกล่าวว่าจิตสำนึก (Consciousness) อันมีบทบาทกำหนดโครงสร้างภายในของวรรณกรรม และเป็นที่มาของโครงสร้างภายนอก คือรูปแบบและองค์ประกอบต่างๆ การเข้าใจโลกทัศน์ของผู้เขียนจะเป็นแนวทางให้เข้าใจโครงสร้างระดับลึก และนำไปสู่การเข้าใจถึงวรรณกรรมได้ดียิ่งขึ้น
           โลกทัศน์ของนักเขียนแต่ละคนจะเป็นไปในรูปใดขึ้นกับเงื่อนไขของยุคสมัย ภาวะแวดล้อมทางสังคมของนักเขียนจะกำหนดให้เขามองโลกไปในลักษณะต่างๆกัน เหตุการณ์ร่วมสมัยมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดให้เขามีโลกทัศน์ไปในทางศรัทธาหรือสิ้นหวัง (อาจแบ่งโลกทัศน์อย่างกว้างๆ ได้ 2 แนวทาง คือ
          - โลกทัศน์เผชิญ หมายถึง การมองโลกตามสภาพที่เป็นจริงด้วยพลังศรัทธา แม้ความเป็นจริงเป็นภาวะที่ไม่พึงปรารถนา แต่ก็มีความหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาพที่ดีกว่า
          - โลกทัศน์หลีกหนี หมายถึง การมองโลกอย่างหมดหวังในการเปลี่ยนแปลง อาจเป็นเพราะสภาพรอบตัวเป็นสภาพที่ไม่พึงปราถนาหรือมีแรงกดดันเนื่องจากถูกบีบคั้นทำให้ท้อแท้ สิ้นหวัง จึงหลีกหนีจากความเป็นจริงไปสู่ความเพ้อฝันหรือสะท้อนภาวะหมดอาลัยตายอยาก
)
ความสำคัญของโลกทัศน์ ในการศึกษาวรรณกรรมเชิงสัมพันธ์กับสังคมเป็นหลักสำคัญของนักศึกษาวรรณกรรมเชิงสังคม ชื่อ Lucien Goldmann    (Lucien Goldmann นำทฤษฎีของ Marx และ Engels รวมทั้ง Lukacs นักคิดก่อนสมัย Marx มาพิจารณาอย่างรอบด้าน แล้วเลือกแนวทางที่เหมาะสมพร้อมทั้งปรับปรุงทฤษฎีเหล่านั้นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น)  ทฤษฎีของเขาให้ความสำคัญกับโลกทัศน์ เพราะเห็นว่าวรรณกรรมเป็น "สัมพันธภาพเบ็ดเสร็จ" (total coherence) หมายถึงเป็นผลงานรวบยอดจากทัศนะต่อโลก และชีวิตของผู้เขียน วรรณกรรมที่ดีสามารถเป็นตัวแทนสะท้อนภาวะของยุคสมัยอย่างแจ่มชัด ส่วนวรรรกรรมที่ยิ่งใหญ่จะนำปัญหาหลักจากประสบการณ์ร่วมสมัยนำไปสู่ความจริงแท้ นักเขียนที่ดีจึงเป็นตัวแทนแห่งยุค และฝ่ากำแพงเวลามารับใช้อนาคตด้วยโลกทัศน์อันกว้างไกลของเขา ทฤษฎีของ Goldmann เรียกว่า ทฤษฎีโครงสร้าง  (ทฤษฎีโครงสร้าง (Structuralism) มีทั้งในวงการศึกษาภาษาศาสตร์และวรรณกรรม ในวงการศึกษาวรรณกรรมเชิงสังคมหมายถึง การศึกษาวิเคราะห์โดยเน้นความสัมพันธ์ของวรรณกรรมกับองค์ประกอบอื่นๆของสังคม องค์ประกอบของวรรณกรรมโดยเอกเทศจะไม่มีความหมายในตัวเองเลย)  อันเป็นทฤษฎีที่มีชื่อเสียงมากทฤษฎีหนึ่ง ทฤษฎีนี้เสนอให้ศึกษาตัววรรณกรรมเป็นหลัก และเน้นว่าการพิจารณาวรรณกรรมโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งหมด ทั้งตัววรรณกรรมเองและส่วนที่เกี่ยวข้องกับสังคม โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ตัววรรณกรรมแล้วจึงโยงไปถึงสังคม กลั่นกรองโลกทัศน์ของผู้เขียน จากนั้นนำโลกทัศน์ของผู้เขียนกลับมาอธิบายเนื้อหาของวรรณกรรมอีกครั้งหนึ่ง
           โลกทัศน์จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

 นักเรียน ม. ๖  อ่านขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา กันหน่อยนะคะ


นักเรียน ม. ๖  อ่านกาพย์เห่เรือกันหน่อยนะคะ

http://www1.mod.go.th/heritage/nation/boatsong/btsong10.htm


ม. ๖ ลองทำเพื่อทบทวนความรู้ วรรณศิลป์ หน่อยนะคะ

แบบทดสอบวรรณศิลป์

๑. (/มี..๔๓) ข้อใดใช้บรรยายโวหารที่มีอธิบายโวหารประกอบ
๑.  ฉันเห็นดอกปีบครั้งใดต้องตรงเข้าไปเก็บดอกที่ร่วงหล่น ปีบสีขาวนี้เรียกว่าปีบฝรั่ง ส่วนอีกปีบเรียกว่ากาสะลอง
๒.  ฉันเดินหาซื้อบ้านจนได้บ้านขนาดกำลังพอดี มีที่ตั้งถูกใจ ตัวบ้านโอบล้อมด้วยเนินเขาเตี้ยๆ มีหญ้าสีเขียวขจี
๓.  ลูกตะขบขนาดประมาณปลายนิ้วก้อย ลูกกลมๆป่องๆ ผิวเต่ง เปลือกบาง มีรสหวานจัด ข้างในมีเมล็ดเล็กๆสีขาวนวล
๔.  ต้นมะม่วงแผ่กิ่งก้านสาขาให้เงาร่มรื่นแผ่ครึ้มไปทั่วลานดิน เด็กๆนั่งเล่นเป็นกลุ่มๆใต้ต้น
๒.      (๑๙/มี..๔๓) คำประพันธ์ข้อใดแสดงอานุภาพของเสียงได้รุนแรงที่สุด
๑.     ก้องกึกพิลึกปีบปะเปรี้ยงเสียงสนั่นลั่นพนัสพนาดร
๒.    ก็อึงเอิกเพียงจะพกเพิกแผ่นพสุธาดลกัมปนาท
๓.    ปัจจัยนาคก็เปล่งเสียงก้องโกญจศัพท์ประกาศกาหลคำรนนฤโฆษ
๔.    เสียงสังข์แตรแซ่ศัพท์มหามโหระทีกกึกก้องกลองชนะสนั่นเนียรนาท
๓. (๒๕/มี..๔๓)การพรรณนาภาพในข้อใดไม่แสดงความเคลื่อนไหว
๑. กลิ่นหล้านภาจรจะปน             สุวคนธบำบวง
. ดาวเดือนก็เลือนรชนิหาย         ระพิจ้าทิวาแทน
. น้ำค้างพระพร่างโปรย             ชลโชยชะดอกใบ
. มืดตื้อกระพือพิรุณพรม                        และฤเราจะแยแส
๔. (๓๓/มี..๔๓)ข้อใดไม่ใช่การพรรณนาฉากท้องเรื่อง
. มืดมัวทุกทิศทุกตำบล              ลมวนพัดซ้ำกระหน่ำมา
. โห่เกรียววิ่งกรูจู่เข้าล้อม                       ไล่อ้อมเลี้ยวลัดสกัดหน้า
. ยางยูงสูงหักกระจัดกระจาย   ฝุ่นทรายปลิวกลุ้มคลุ้มเวหา
. เย็นฉ่ำน้ำไหลมาหลั่งหลั่ง        ล้นหลั่งถั่งชะง่อนก้อนภูผา
๕. (๔๓/มี..๔๓)คำประพันธ์ข้างล่าง ผู้ประพันธ์มีน้ำเสียงตามข้อใด
เป็นสร้อยโสภิศพ้น                  อุปรมา
                        โสรมสรวงศิรธิรางค์                             เวี่ยไว้
                        จงคงคู่กัลปา                                       ยืนโยค
                        หายแผ่นดินฟ้าไหม้                              อย่าหาย
            . ภูมิใจ                      . ห่วงใย                    . ใฝ่ฝัน                      . หวั่นใจ
            ตอบคำถามข้อ ๖-
                        เซอะซะซุ่มซ่ามไซร้                   ไป่ควร
            เงอะงะเกะกะกวน                              จิตฟุ้ง
            ทำใด____ยั่วยวน                                ความโกรธ  เสมอนา
            ชักแต่ดุด่ากลุ้ม                                                ____ด้วยเซอะเซิง
๖. (๕๒/..๔๒)ข้อใดเหมาะสมที่จะนำมาเติมในช่องว่างของคำประพันธ์ให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์และความหมาย
. มัก  เพราะ                                . เย้า   เนื่อง
. ดุจ  อัน                                      . ได้  เกิด
๗. (๕๓/..๔๒)คำประพจน์ข้างต้นไม่ใช้กลวิธีการแต่งตามข้อใด
. เล่นเสียงพยัญชนะ                   . เลียนเสียงธรรมชาติ
. เสียงสัมผัสสระ                                    . เล่นคำ

            ตอบคำถามข้อ ๘-
                        หวังเป็นเกือกทองรองบาทา                 พระผู้วงศ์เทวาอันปรากฏ
                        จะขอพระบุตรีมียศ                              ให้โอรสข้าน้อยดังจินดา
                        อันกรุงไกรไอศูรย์ทั้งสอง                      จะเป็นทองแผ่นเดียวไปวันหน้า
                        ขอพำนักพักพึ่งพระเดชา                     ไปกว่าชีวันจะบรรลัย
๘. (๙๐/ ต.. ๔๒) ข้อใดไม่ใช่น้ำเสียงที่ปรากฏในคำประพันธ์ข้างต้น
. อ่อนน้อม                                   . ถ่อมตน
. ยำเกรง                                     . ทะนงในศักดิ์ศรี
๙.  (๙๑/.. ๔๒) ข้อใดมีคำที่แสดงความเคลื่อนไหว
. พลมอญเมิลมืดท้อง                  รัถยา
. อเนกนิกรอาชา                         ชาติช้าง
. ทวนทองเถือกทอตา                  เปลือยปลาบ
. เทียวธวัชแลสล้าง                     เฟื่องฟ้าปลิวปลาย
๑๐. (๙๕/..๔๒)คำประพันธ์ข้างล่าง ข้อใดเป็นน้ำเสียงที่แสดงความรู้สึกที่เด่นชัดที่สุดของผู้ประพันธ์
อันนารีที่ยังสาวพวกชาวบ้าน               ถีบกระดานถือตะกร้าเที่ยวมาหอย
ดูแคล่วคล่องล่องแล่นแฉลบลอย                    เอาขาห้อยทำเป็นหางไปกลางเลน
อันพวกเขาชาวประมงไม่โหย่งหยิบ                 ล้วนตีนถีบปากกัดขัดเขมร
จะได้กินข้าวเช้าก็ราวเพล                                ดูจัดเจนโลดโผนในโคลนตม
. ยกย่อง                                      . ชื่นชม
. สงสาร                                      . เห็นใจ
๑๑. (/มี..๔๒)ภาพสรวงสวรรค์ชั้นกวีจากข้อความข้างล่าง  ข้อใดสามารถตี
                ความเกี่ยวกับความไพเราะด้านเสียงของกวีนิพนธ์ได้น้อยที่สุด
                        รัศมีมีเสียงเพียงดนตรี                         ประทีปทีฆรัสสะจังหวะโยน
                        ระเมียรไม้ใบโบกสุโนคเกาะ                สุดเสนาะเสียงนกซึ่งผกโผน
                        โผต้นนั้นผันตนไปต้นโน้น                    จังหวะโจนส่งจับรับกันไป
                   . เสียงสูงต่ำ                               . เสียงสั้นยาว
                   . เสียงสัมผัส                              . เสียงหนักเบา

            ตอบคำถามข้อ ๑๒-๑๓
                             นาวาแน่นเป็นขนัด                          ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
                        เรือริ้วทิวธงสลอน                                 สาครลั่นครั่นครื้นฟอง
                             เรือครุฑยุดนาคหิ้ว                          ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
                        พลพายกรายพายทอง                         ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
๑๒. (๘๙/มี.. ๔๒)ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นของคำประพันธ์ข้างต้น
. ภาพ                                          . เสียง
. แสงสี                                        . อารมณ์
๑๓. (๙๐/มี.. ๔๒) ภาพสะท้อนด้านใดไม่ได้ปรากฏอยู่ในคำประพันธ์ข้างต้น
. วัฒนธรรมพื้นบ้าน                    . ศิลปะ
. ประเพณี                                   . วรรณกรรม
๑๔. (๙๙/มี.. ๔๒) ลักษณะทางวรรณศิลป์ข้อใดไม่ปรากฏในคำประพันธ์ข้างล่าง
สงครามครานี้หนัก                   ใจเจ็บ  ใจนา
                        เรียมเร่งแหนมหนาวเหน็บ                   อกโอ้
                        ลูกตายฤใครเก็บ                                 ผีฝาก  พระเอย
                        ผีจักเท้งที่โพล้                                      ที่เพล้ใครเผา
                  . การซ้ำคำ                                  . การเล่นเสียง
                  . การใช้ภาพพจน์                        . การสร้างอารมณ์สะเทือนใจ
๑๕.  (๑๕/.. ๔๒)ข้อใดใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติมากที่สุด
. ข่อยมะขามตามทางสล้างเรียง             นกเขาเคียงคู่คูประสานคำ
. รุกขชาติดาษดูระดะป่า                         สกุณาจอแจประจำจับ
. จนไก่เถื่อนเตือนขันสนั่นแจ้ว                 ดุเหว่าแว่วหวาดหมายว่าสายสมร
. ย่ามกระสอบกรอบแกรบกระไกรกริก   กลักพริกพลิกแพลงตะแคงหงาย

ตอบคำถามข้อ ๑๖
                                    ยามมืดใช่มืดแท้                      ทุกสถาน
                        ดูสิเมื่อรัตติกาล                                   หม่นเศร้า
                        ดาวศุกร์กลับชัชวาล                            สุกสงว่าง
                        แม้บ่มีจันทร์เจ้า                                    ใช่ว้างหวาดหวิว
๑๖. (๒๑/.. ๔๒) ข้อใดมิใช่ลักษณะเด่นของคำประพันธ์ข้างต้น
. การซ้ำคำ                                  . การหลากคำ
. สัมผัสใน                                   . การใช้อติพจน์
           
ตอบคำถามข้อ ๑๗
                        สงสารนางชาวในที่ไปด้วย                   ทั้งโถถ้วยเครื่องแต่งแป้งขมิ้น
                        หวีกระจกตกแตกกระจายดิน              เจ้าของผินหน้าหาน้ำตาคลอ
                        จะปีนขึ้นกูบช้างไม่กางขา                   แต่โดนผ้ากรีดกรอมทำซอมซ่อ            
                         มือตะกายสายรัดสคนคอ                  เห็นช้างงองวงหนีดก็หวีดอึง
๑๗. (๒๔/๒๕๔๑) คำประพันธ์ข้างต้นในจินตภาพด้านใดเด่นที่สุด
๑.     เสียง  ,  แสง                            . สี  ,  เสียง
. เสียง  ,  ความเคลื่อนไหว          . ความเคลื่อนไหว  ,  แสง
๑๘. (๒๗/๒๕๔๑) คำประพันธ์ข้อใดไม่แสดงภาพการเคลื่อนไหวเลย
            .             เล็งหลากสลอนศิระละเลื่อม          แลทะเมื่อมทะทอมัน
                        แง่งงุ้มชะโงกศิริถงัน                            ผงะเงื้อมชะง่อนเขา
            .             พรรค์แห่งพิหคสกุณะหลาก           พิศะมากประมาณผอง
                        ว่อนบินถวิลจระระปอง                        ผลพฤกษะอาหาร
            .             ทะเลแลกระแสหลั่ง                        อุทกพลั่งกะถั่งเห็น
                        ผสมสีขจีเป็น                                       ประหนึ่งแก้วตระการเขียน
            .             เสียงซ่าฉะฉ่าชละกระเซ็น              พุและเผ่นผะผาดผัง
                        ต้องผาศิลาศิละก็พัง                           กะเทาะหลุดสลายหลาย
๑๙. (๓๗/๒๕๔๑)ข้อใดมีการเล่นสัมผัสต่างกับข้ออื่น
๑.     รกฟ้าขานางยางตะเคียน
๒.    ขวิดขวาดราชพฤกษ์จิกแจง
๓.    โพบายไกรกร่างอ้อยช้างหว้า
๔.    เชาคูคู่ถิ่นอยู่ริมรก
๒๐.     เหมือนบายศรีมีงานท่านถนอม            เจิมแป้งหอมน้ำมันจันทน์ให้หรรษา
            พอเสร็จการท่านเอาลงทิ้งคงคา           ต้องลอยมาลอยไปเป็นใบตอง
(๔๐/๒๕๔๑)ข้อใดมิใช่ลักษณะทางวรรณศิลป์ของคำประพันธ์ข้างต้น
. การใช้ไวพจน์                            . การเล่นสัมผัสสระ
. การใช้ความเปรียบที่ลึกซึ้ง       . การพรรณนาให้เห็นภาพชัดเจน
๒๑. (๔๘/๒๕๔๑)ข้อใดมีการเล่นสัมผัสมากที่สุด
. จะมาช่วงชิงกันดังผลไม้                       อันจะได้นางไปอย่าสงกา
. พระปิ่นภพกุเรปันธานี                          ให้กะหรัดตะปาตีเป็นทัพขันธ์
. สตรีใดในพิภพจบแดน                         ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า
. เราอย่าคอยเขาเลยนะหลานรัก            ก้มพักตร์รบศึกไปดีกว่า
๒๒. (๕๐/๒๕๔๑)คำประพันธ์ในข้อใดกล่าวถึงเสียงและความเคลื่อนไหว
. รัศมีมีเสียงเพียงดนตรี                          . ประทีปฑีฆรัสสะจังหวะโยน
. สุดเสนาะเสียงนกซึ่งผกโผน                 . รเมียรไม้ใบโบกสุโนกเกาะ
๒๓.                 เพรางายวายเสพรส                 แสนกำสรดอดโอชา
     อิ่มทุกข์อิ่มชลนา                             อิ่มโศกาหน้านองชล
(/๒๕๔๐) ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นของบทประพันธ์ข้างต้น
๑.     ใช้ถ้อยคำที่มีเสียงและจังหวะดุจดนตรี
๒.    ใช้ถ้อยคำได้ดุลของเสียงและความหมาย
๓.    ใช้ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความรู้สึกและจินตนาการได้
๔.    ใช้ถ้อยคำง่ายๆสั้นๆ พรรณาให้เกิดความสะเทือนอารมณ์
๒๓.                 หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ          แพนดอกฉ่ำช้อยช่อวรวิจิตร
            งามดั่งเปลวเพลิงป่ามานิรมิต                          สร้อยโสภิตอภิรุมพุ่มหัวใจ
                        เพชรน้ำค้างค้างหล่นบนพรมหญ้า       เย็นหยาดฟ้ามาฝันหลงวันใหม่
            เคล้าเคลียหยอกดอกหญ้าอย่างอาลัย            เมื่อแฉกดาวใบไผ่ไหวตะวัน
 (/๒๕๔๐) ข้อใดมิใช่ลักษณะเด่นของคำประพันธ์ข้างต้น
. มีการเล่นคำ                              . มีสัมผัสแพรวพราว
. อุดมไปด้วยกวีโวหาร                . ใช้ภาพพจน์ที่ให้ภาพชัดเจน
๒๔.                 ตีเข่าปับรับโปกสองมือปิด                   ประจบติดเตะผางหมัดขว้างหวือ
กระหวัดหวิดหวิวผวาเสียงฮาฮือ                      คนดูอื้อเออเอาสนั่นอิง
(๒๓/๒๕๔๐)คำประพันธ์ข้างต้นไม่ปรากฏลักษณะใด
. การเลียนเสียงธรรมชาติ             . การเปรียบเทียบ
. การเล่นเสียงสัมผัส                    . การให้ภาพเคลื่อนไหว
๒๖. (/๒๕๓๙) บทกวีในข้อใดที่ความไพเราะเกิดจากการใช้ถ้อยคำที่มีเสียงและจังหวะดุจดนตรี
        เด่นชัดที่สุด
. จงหยุดชมชื่นใจในใจเถิด                      ทุกสิ่งเกิดก่อได้ในใจก่อน
. หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ           แพนดอกฉ่ำช้อยช่อวรวิจิตร
. กลางคืนคอยเป็นควันอั้นอัดไว้             ครั้นกลางวันก็เป็นไฟไปทุกอย่าง
. สงสารใจใจเจ้าเอ๋ยไม่เคยนิ่ง                วนและวิ่งคืนและวันหวั่นและไหว
           
ตอบคำถามข้อ ๒๗-๒๘
            .         ดังตรลบโลกแล้                       ฤาบ่ล้างรู้แพ้
                        ชนะผู้ใดดาล                                      
            .                     พระตรีโลกนาถแผ้ว                 เผด็จมาร
                        เฉกพระราชสมภาร                              พี่น้อง
.        ข้าศึกสาดปืนโซรม  โรมกุฑัณฑ์ธนู  ดูดั่งพรรษาซ้อง  ไป่ตกต้องตนสาร
.                    พระศรีสาริกบรมธาตุ               ไขโอภาสโสภิต  ช่วงชวลิตพ่างผล
ส้มเกลี้ยงกลกุก่อง                              ฟ่องฟ้าฝ่ายทักษิณ
๒๗. (๑๗/๒๕๓๙) ข้อใดไม่ใช่โวหารแบบอุปมา
. ข้อ ก                                         . ข้อ ข
.ข้อ ค                                          . ข้อ ง
๒๘. (๑๘/๒๕๓๙) ข้อใดกวีสามารถสร้างจินตภาพด้านเสียงและภาพเคลื่อนไหวได้มากที่สุด
.ข้อ ก                                          . ข้อ ข
. ข้อ ค                                         . ข้อ ง
๒๙.                 เข้าลำคลองหัวตอรอระดะ                   ดูเกะกะรอร้างทางพม่า
                  เห็นรอหักเหมือนหนึ่งรักพี่รอรา                  แต่รอท่ารั้งทุกข์มาตามทาง
                  (๒๘/๒๕๓๙)ข้อความข้างต้นสร้างความไพเราะด้วยกลวิธีใด
                  . ใช้การซ้ำคำ                              . ใช้การเล่นคำ
                  . ใช้คำอัพภาส                            . ใช้การเลียนเสียงธรรมชาติ
๓๐.                             ณรงค์นเรศวร์ด้าว                    ดัสกร
                        ใครจักอาจออกรอน                             รบสู้
                        เสียดายแผ่นดินมอญ                          พลันมอด  ม้วยแฮ
                        เหตุบ่มีมือผู้                                         อื่นต้านทานเข็ญ
(๓๕/๒๕๓๙) คำประพันธ์ข้างล่าง ผู้แต่งมีน้ำเสียงอย่างไร
๑.     ชื่นชมวีรกรรมอันกล้าหาญของสมเด็จพระนเรศวร
๒.    ยินดีที่พม่าต้องเสียเมืองบ้างเพราะชอบรุกรานไทยก่อน
๓.    เห็นใจพม่าที่ต้องแพ้สงครามเพราะขาดผู้มีฝีมือ
๔.    เศร้าใจที่พม่าไม่รู้จักคัดเลือกแม่ทัพมีฝีมือจึงพ่ายแพ้ไทย
๓๑.                             ฉับฉวยชกฉกช้ำ                      ฉุบฉับ
            โถมทุบทุ่มถองทับ                               ถีบเท้า
            เตะตีต่อยตุบตับ                                  ตบตัก
            หมดหมู่เมงมอญม้าว                           ม่านเมื้อหมางเมิน
(๔๒/๒๕๓๙)   คำประพันธ์ข้างต้นมีลักษณเด่นทางวรรณศิลป์ทั้งคู่ตามข้อใด
      . สัมผัสพยัญชนะ                       เลียนเสียงธรรมชาติ
      . เลียนเสียงธรรมชาติ                 เล่นคำ
       . สัมผัสพยัญชนะ                      สัมผัสสระในวรรค
       . สัมผัสสระในวรรค                   เล่นคำ
๓๒.                  ถึงเกาะเกิดเกิดเกาะขึ้นกลางน้ำ      เหมือนเกิดกรรมเกิดราชการหลวง
จึงเกิดโศกขัดขวางขึ้นกลางทรวง                    จะตักตวงไว้ก็เติบกว่าเกาะดิน
(๖๕/๒๕๓๘)  คำประพันธ์ข้างต้นนี้เด่นในด้านใด
                . การพรรณนา                               . การเปรียบเทียบ
                . การเล่นคำ                                  . การแสดงความรู้สึก
๓๓.                                         พาทีมีสติรั้ง                  รอคิด
                                    รอบคอบชอบแลผิด                 ก่อนพร้อง
                                    คำพูดพ่างลิขิต                                    เขียนร่าง  เรียงแฮ
                                    ฟังเพราะเสนาะต้อง                โสตทั้งห่างภัย
(๖๔/๒๕๓๘)   คำประพันธ์ข้างต้นนี้เด่นที่สุดในเรื่องใด
                . แนวคิด                                        . สัมผัส
                . การหลากคำ                               . เสียงเสนาะ
๓๔.                             พิณฟ้า    ราตรี                     ธรณีสุโนกเนา
                        ส่งเสียงประสานเสา-                           วสภาพพะนอสรวง
                  (๖๘/๒๕๓๘) การใช้ภาพพจน์ของบทประพันธ์ข้างต้นตรงตามข้อใด
                 . อุปมา  อุปลักษณ์                      . อุปลักษณ์  บุคลาธิษฐาน
                 . สัญลักษณ์  บุคลาธิษฐาน         . สัญลักษณ์  อุปลักษณ์

            ตอบคำถามข้อ ๓๕- ๓๘
            .                     กินนรฟ้อนรำร่ายบิน                กนกนาคิน
                        ทุกเกล็ดก็เก็จสุรกานต์
            .                     งามเทวธวัชชัชวาล                  โบกในคัคนานต์
                        แอร่มอร่ามงามตา
            .                     พรั่งพร้อมทวยเทวเสนา           ห้อมแห่แหนหน้า
                        และหลังสะพรั่งพร้อมมวล
            .                     จามรีเฉิดฉายปลายทวน          หอกดาบปลาบยวน
                        ยั่วตาพินิจพิศวง
๓๕. (๖๕/๒๕๓๗) ข้อใดมีการประเมิณค่าในข้อความที่พรรณนา
. ข้อ ก และ ข                                          . ข้อ ค และ ง
. ข้อ ก และ ค                                          . ข้อ ข และ ง
๓๖. (๖๖/๒๕๓๗) ข้อใดมีนาฏการในข้อความที่พรรณนา
. ข้อ ก และ ข                                          . ข้อ ค และ ง
. ข้อ ก และ ค                                          . ข้อ ข และ ง
๓๗. (๖๗/๒๕๓๗) ข้อใดมีการเล่นสํมผัสสระภายในวรรคมากที่สุด
. ข้อ ก                                                     . ข้อ ข
. ข้อ ค                                                     . ข้อ ง
๓๘. (๖๘/๒๕๓๗) ข้อใดมีการเล่นสัมผัสอักษรมากที่สุด
. ข้อ ก                                                     . ข้อ ข
. ข้อ ค                                                     . ข้อ ง
๓๙. (๗๗/๒๕๓๗)                   กระทบกระทั่งบ้าง                   บางที
                                    สูญทรัพย์เสียสิทธ์ศรี                           ศักดิ์บ้าง
                                    เสียน้อยรักษาธี                                   รภาพ
                                    ดีกว่าแข็งกร้าวสร้าง                            เรื่องร้ายกรายถึง
                 โคลงบทนี้ใช้ภาษากวีเด่นในทางใด
๑.     ใช้ถ้อยคำที่มีเสียงและจังหวะดุจดนตรี
๒.    ใช้ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวของภาพ
๓.    สรรคำบรรยายให้ผู้อ่านเกิดความคิดคล้อยตาม
๔.    เสนอสารที่ทำให้ความคิดนึกอันลึกซึ้ง
๔๐. (๘๖/๒๕๓๗) ข้อใดไม่ใช้ความเปรียบ
.   เรไรจักจั่นสนั่นเสียง                      เพราะเพียงดนตรีปี่ไฉน
.   น้ำเงินคือเงินยวง                           ขาวพรายช่วงสีสำอาง
.   ทรงกลดหมดเมฆพรายพรรณ       แสงจันทร์จับแสงรถทรง
.   เรือชัยไวว่องวิ่ง                              รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
๔๑.                แม้นเจ้าเกิดในสรวงสวรรค์      ข้าขอลงโลกันต์หม่นไหม้
            สูเป็นไฟเราเป็นไม้                               ให้ทำลายสิ้นถึงวิญญาณ
             (๑๘/๒๕๓๖) น้ำเสียงของผู้ประพันธ์ข้างต้น คือ ข้อใด
                 . เจ็บแค้น                                     . ขุ่นแค้น
                 . เคืองแค้น                                   . เคียดแค้น
๔๒. (๕๖/๒๕๓๔) ข้อใดมีลักษณะสัมผัสในต่างกับข้ออื่น
         . ณยามสายัณห์ตะวันยิ่งย้อย         แน่ะเร่งเท้าหน่อยทะยอยเหยียบหนา
         . ตะแล้กแต้กแต้กจะแหลกแล้วจ้า   กระดังรีบมาเถอะรับข้าวไป
         . คณาเนื้อนวลก็ครวญคลอขับ        ระริกแคนรับสลับเสียงใส
         . กระเดื่องตำข้าวก็กราวเสียงไกล     สนุกน้ำใจสมัยสายัณห์
๔๓. (๕๗/๒๕๓๔) บทประพันธ์ในข้อใดที่กวีไม่ได้เล่นเสียงสระสั้นยาวของสระคู่เดียวกัน
๑.     ดังกอกกอกตรอกตรอที่กอไผ่          
๒.    ค่อยยักย้ายเยื้องยกชะโงกตาม
๓.      ที่รกเรื้อเสือกระหึ่มครึมคำราม
๔.      เสียงเผาะเผาะเหยาะย่องค่อยมองเมียง
๔๔. (๖๐/๒๕๓๔) ข้อใดใช้คำเลียนเสียง
     .หวีดว้ายกระทายพลัดตกเหว            .นกคุ่มเปรียวปรื๋อกระพือบิน
                 .วิเวกแว่วกลองโยนตะโพนกระหึ่ม     .เผลาะผลุดรากเลื้อยอะล่อนจ้อน

ตอบข้อ ๔๕-๔๖
            .ขาวสุดพุดจีบจีน                              เจ้ามีสินพี่มีศักดิ์
                           ทั้งวังเขาชังนัก                                  แต่พี่รักเจ้าคนเดียว
                        .จะประมวลเทวษไว้                           พระชลนัยน์ที่โหยหา
                          ดินฟ้าและยมนา                                ไม่เท่าเทียมที่เรียมตรอม
                        .โอ้หนาวอื่นพอขื่นอารมณ์ได้             แต่หนาวใจยากแค้นนี้แสนเข็ญ
                          ทั้งหนาวนอนไกลนุชสุดจะเย็น          ใครปะเป็นเหมือนข้าจะว่าจริง
                        .ใครไม่เคยรู้ฤทธิ์ความคิดถึง             ใครไม่เคยซาบซึ้งกับความฝัน
                          ใครไม่เคยมีรักปักชีวัน                       ใครคนนั้นคงไม่ซ้ำกับคนลา
๔๕. (๑๐/๒๕๓๓) ข้อใดใช้ถ้อยคำที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกและนึกเห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด
            .                  .  .               .                  . 
๔๖. (๑๑/๒๕๓๓) ข้อใดเล่นคำซ้ำเพื่อเพิ่มน้ำหนักความได้มากที่สุด
            .                  .                  .                  . 

ตอบคำถามข้อ ๔๗ – ๔๘
                        กองช้างขับช้างเข้าง้างแย่ง                งวงคว้าแทงไม่ท้อถอย
            กรุยแตะเสาได้ใหญ่น้อย                                 พังทับยับย่อยลงทันที
๔๗. (๑๒/๒๕๓๓) คำประพันธ์ข้างต้น กวีเล่นสัมผัสในกี่แห่ง
            . ๑๐ แห่ง          . ๑๑ แห่ง              . ๑๒ แห่ง                  . ๑๓ แห่ง
๔๘. (๑๓/๒๕๓๓) คำประพันธ์นี้ให้ภาพเด่นชัดในด้านใด
                            .ให้ภาพที่แสดงความโหดร้ายของสงคราม    
  .ให้ภาพที่ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ
            . ให้ภาพที่แสดงความยิ่งใหญ่ของกองทัพ
            . ให้ภาพที่เคลื่อนไหว
           
ตอบคำถามข้อ ๔๙-๕๐
ก.                                                                                                                 โอ้อาลัยใจหายไม่วายห่วง
  ดั่งศรศักดิ์ปักช้ำระกำทรวง                เสียดายดวงจันทราพะงางาม
.หรือธานินทร์สิ้นเกณฑ์จึงเกิดยุค      ไพรีรุกรบได้ดั่งใจหมาย
  เหมือนทุกวันแล้วไม่คัณนาตาย         ให้ใจหายหวั่นหวั่นถึงจันทร์ดวง
.วันจะจรจากน้องสิบสองค่ำ              พอจวนย่ำรุ่งเร่งออกจากท่า
  รำลึกถึงดวงจันทร์ครรไลลา               พี่ตั้งตาแลแลตามแพราย
.เฝ้าแหงนดูดวงแขชะแง้พักตร์          เห็นจันทร์ชักรถร่อนเวหาเหิน
  ดูดวงเดือนเหมือนชื่อรื้อเผอิญ           ระกำเกินที่จะเก็บประกอบกลอน
๔๙. (๓๑/๒๕๓๓) คำว่า จันทร์ข้อใดมีความหมายต่างจากข้ออื่น
                        .                             .                             .                              .
๕๐. (๓๒/๒๕๓๓) ข้อใดให้อารมณ์สะเทือนใจมากที่สุด
                        .                              .                             .                              .
๕๑. (๘๙/๒๕๓๒) “เจ้าอยุธยามีบุตร  ล้วนยงยุทธ์เชี่ยวชาญ  หาญหักศึกบมิย่อ ต่อสู้ศึกบมิหยอน 
        ไป่พักวอนว่าใช้ให้ ธ หวง  ธ ห้าม  แม้นเจ้าคร้ามเคราะห์กาจ  จงอย่ายาตรยุทธนา
ข้อความจาก ลิลิตตะเลงพ่ายข้างต้น เป็นโวหารที่แสดงน้ำเสียงชนิดใด
.อิจฉา                      .เยาะเย้ย                  .ประชด                     .แนะนำ 
๕๒. (๙๕/๒๕๓๒) ต่างแกล้วสรรตัวกลั่นสรรพ  แล่นโจมทัพไล่จับทัน  จู่เข้าฟันจับคันฟาด  ล้มกลิ้งดาษ
        ลงกราดดื่นขุนม้าพื้นขุนหมื่นพัน  ตัวล่ำสันต่างลั่นศร  ตั้งมือร่อนโตมรรำ
การเล่นสัมผัสพยัญชนะและสระในคำประพันธ์นี้ มีคุณค่าทางวรรณศิลป์อย่างไร
๑.     เป็นแบบฉบับฉันทลักษณ์ประเภทกลบท
๒.    แสดงภาพการปะทะรุนแรงน่าพรั่นพรึง
๓.    ให้ภาพความเคลื่อนไหวรวดเร็วเร้าอารมณ์
๔.    สร้างความตื่นตาตื่นใจในความพร้อมรบ

๕๓. (๙๙/๒๕๓๒) คำประพันธ์ข้อใดมีลักษณะเด่นที่สุดในด้านจินตภาพ จังหวะความเคลื่อนไหวและโสตสัมผัส

.ทั้งเขาพระสุเมรุก็เอนอ่อนอยู่ทบเทา แก้วเก้าเนาวรัตน์แสนสัตรัตน์ เรืองรองซ้องสาธุการอยู่อึงมี่
.พระธรณีอันหนาแน่นได้สองแสนสี่หมื่นโยชน์ เสียงอุโฆษครื้นครั่น ดั่งไฟบรรลัยกัลป์จะผลาญโลก
.พระสมุทรสาครวังวน บันดาลน้ำฟุ้งเป็นฝอยฝน พญานาคฤทธิรณเลิกพังพานสลอนลอยอยู่ไปมา
.ฝูงสัตว์จัตุบททวิบาทก็ตื่นเต้นเผ่นโผนโจนดิ้น ประหนึ่งว่าปัถพินจะพลิกคว่ำพล้ำแพลงให้พลิกหงาย

ตอบคำถามข้อ ๕๔-๕๕
            บนเนินเขาเตี้ย  มีน้ำพุที่ให้น้ำตลอดกาล  ทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาว  ในขณะที่น้ำไหลผ่าน  เนินเขาผ่าละเมาะหมู่ไม้  แล้วหายไปในทุ่งกว้างเหนือหมู่บ้านขึ้นไปนั้น  เสียงของมันฟังดูไพเราะยิ่งนัก  ชาวบ้านกำลังสร้างสะพานเล็กๆด้วยหิน  ข้ามลำธารแห่งนี้ โดยมีวิศวกรหนุ่มเป็นผู้ควบคุมดูแล
๕๔. (๕๓/๒๕๓๑)ข้อความนี้ใช้วิธีเขียนแบบใด
            .อธิบาย                                 .บรรยาย
            .พรรณนา                              .บรรยายและพรรณนา
๕๕. (๕๔/๒๕๓๑) ข้อความข้างต้นดีเด่นในด้านใด
            .ใช้ภาษาที่กะทัดรัด สละสลวย        
.แสดงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์
            .ให้แนวคิดเกี่ยวกับความร่วมมือร่วมใจ
            .ให้ภาพที่ชัดเจน

ตอบคำถามข้อ ๕๖ – ๕๗
                        โสมรินน้ำก็ช้ำกลีบเฉา             สะแกต้นเก่าก็แตกกิ่งกอ
            กระพือลมกราวจะหนาวแล้วหนอ        วะหวิวขลุ่ยคลอประเลงเพลงรัก
            กระเดื่องไม้ขอนกระดอนตำข้าว          เขย่งเก็งก้าวกระตึกตึกตัก
            เพราะแรงสาวเหยียบขยับเยื้องยัก      สะเทิ้นคำทักสิหนักใจสาว
๕๖. (๖๙/๒๕๓๑) ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของบทประพันธ์ที่ยกมานี้
            . จินตภาพ และ ภาพพจน์                 . จังหวะ และ เสียงสัมผัส
            . เนื้อความ และ ข้อคิด                      . สัญลักษณ์ และ ความหมาย
๕๗. (๗๐/๒๕๓๑) เมื่ออ่านบทประพันธ์นี้  ประสาทสัมผัสของท่านกระทบกับสิ่งใดมากที่สุด
            . เสียง และ อุณหภูมิ                                    .อุณหภูมิ และ สี
            .สี และ ความเคลื่อนไหว                   .ความเคลื่อนไหว และ เสียง
๕๘. (๗๑/๒๕๓๑) บทประพันธ์นี้แสดงให้เห็นสิ่งใด
            .ธรรมชาติกับชุมชน                           .ลักษณะสังคมชนบท
            .วัฒนธรรมชุมชนเกษตร                   .กิจกรรมรับลมหนาวของสาวๆหนุ่มๆ
            จากบทประพันธ์ที่ยกมานี้ จงตอบคำถามข้อ ๘๐-๘๑
            เพราะถิ่นนี้มีฟ้ากว้างกว่ากว้าง            มีความมืดที่เวิ้งว้างสว่างไสว
เป็นป่าเถื่อนแต่เป็นที่ไม่มีภัย                           อยู่ห่างไกลแต่ก็ใกล้ในคุณธรรม
๕๙. (๙๓/๒๕๓๑) บทประพันธ์นี้ให้แนวคิดอย่างไร
                        .ธรรมชาติเป็นที่รื่นรมย์                     .ธรรมชาติเป็นที่รื่นเริง
                        .ธรรมชาติเป็นที่ร่มรื่น                        .ธรรมชาติเป็นที่ร่มเย็น
๖๐. (๙๔/๒๕๓๑) บทกลอนนี้ให้จินตภาพใดเด่นชัดที่สุด
                        .เขตทุ่งหญ้าขอบฟ้ากว้างและสบาย
                        .ชนบทไม่มีไฟฟ้าและป่าเถื่อน
                        .บ้านนอกที่สงบสงัดไร้ทุกข์ภัย
                        .ท้องถิ่นไกลความเจริญและมีสันติสุข
           
ตอบคำถามข้อ ๖๑-๖๒
ถึงจะอยู่ไกลกันห่างพันโยชน์             ขอเพื่อนโปรดเข้าใจห่วงใยเสมอ
                        อยากมาเยือนอยากมาพบประสบเจอ             แต่แล้วเก้อเคว้งคว้างหนทางไป
๖๑. (๖๗/๒๕๓๐) คำประพันธ์นี้มีลักษณะใดที่ควรแก้ไขปรับปรุง
                        .เสียงสัมผัส                                      . เนื้อความที่ขัดแย้งกัน
                        . การใช้คำและความหมาย               .รูปแบบที่เหมาะกับเนื้อหา
๖๒. (๖๘/๒๕๓๐) คำประพันธ์นี้แสดงอารมณ์ลักษณะใด
                        .รำพึงรำพัน                                       .คร่ำครวญ
                        .วิตกกังวล                                        .ครุ่นคิด
๖๓.                             ป๊ะโท่นป๊ะโท่นป๊ะโท่นโท่น      บุรุษสิโอนสะเอวไหว
                        อนงค์นำเคลื่อนเขยื้อนไป                    สะบัดสไบวิไลตา
(๗๔/๒๕๓๐) ข้อความข้างบนนี้แสดงกลวิธีการประพันธ์ตามข้อใดเด่นที่สุด
.การเล่นคำ                                       .การใช้เสียงสัมผัส
.การใช้สัมผัสนอกสัมผัสใน              .การเลียนเสียงธรรมชาติ

ตอบคำถามข้อ ๖๔-๖๗
ก.     ไผ่ซออ้อเอียดเบียดออด                 ลมลอดไล้เลี้ยวเรียวไผ่
                        ออดแอดออดแอดออดยอดไกว            แพใบไล้น้ำลำครอง
ข.       ลมหนาวเริ่มล่องมาจากฟ้าแล้ว    พรมจูบแผ่วเจ้าพระยาโรยฝ้าฝัน
                        คลื่นคลี่เกลียวแก้วม้วนกับนวลจันทร์  กระซิบสั่นซ่านกระเซ็นเป็นลำนำ
                        ค.   อยากให้ลมลู้ริ้วทิวไม้ราบ              และนกฉาบเฉวียนนวกผกผันผาย
                        ลอยฉวัดกวัดกวักเหมือนทักทาย         บรรเลงร่ายรู้รับการกลับมา
ง.       มโหรีจากราวป่ามาเรื่อยรี่              ราชินีแห่งน้ำค้างจะห่างหัน
                        ฝักต้อยติ่งแตกจังหวะประชันกัน         จักจั่นจี่เจื้อยรับเรื่อยร้อง
๖๔. (๗๖/๒๕๓๐) ข้อใดดีเด่นในด้านศิลปะการใช้คำที่มีเสียงทำให้เกิดจินตภาพชัดเจนที่สุด
.                              .                              .                              .
๖๕. (๗๗/๒๕๓๐) ข้อใดมีการใช้บุคลาธิษฐาน
                        .                              .                              .                              .
๖๖. (๗๘/๒๕๓๐) ข้อใดมีการใช้อุปลักษณ์
                        .                              .                              .                              .
๖๗. (๗๙/๒๕๓๐) ข้อใดที่แสดงให้เห็นความปรารถนาของคดี
     .                              .                              .                              .

                        ตอบคำถามข้อ ๖๘-๗๐
ก.     มลิวันพันพุ่มคัดค้าว                                   ระดูดอกออกขาวทั้งราวป่า
                              บ้าเลื้อยเลี้ยวเกี่ยวกิ่งเหมือนชิงช้า            ลมพาพัดแกว่งดังแกล้งไกว

ข.      หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ                แพนดอกฉ่ำซ้อยช่อวรวิจิตร

     งามดั่งเปลวเพลิงป่ามานิรมิต                     สร้อยโสภิตอภิรุมพุ่มหัวใจ
ค.     ลดาดินติณชาติหลับใหล                           ตื่นขึ้นไหวไหวในลมหนาว
      หยาดย้อยพลอยน้ำค้างแวววาว                ราวท้าแก้วแหวนทั้งแดนดิน
ง.      ลมระเริงลู่หวิวพลิ้วระลอก                         สัพยอกยอดไม้ไปลิ่วล่อง
แล้วใบไม้ก็ไหวส่ายขึงข่ายกรอง                ทอแสงทองทอดประทับซับน้ำค้าง
๖๘. (๘๐/๒๕๓๐) คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดให้จินตภาพด้อยที่สุด
.                              .                             .                              .
๖๙. (๘๑/๒๕๓๐) ข้อใดไม่ใช้ความเปรียบแบบอุปมา
     .                              .                              .                              .
๗๐. (๘๒/๒๕๓๐) ข้อใดใช้คำที่แสดงอาการเคลื่อนไหวเด่นที่สุด
     .                              .                              .                              .

------------------------------------------------




วิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์
      เราพบกันวันที่รุ้งครอบคุ้งหล้า       ทั่วท้องฟ้าแวววามด้วยความหมาย
น้ำในธารกลอกกลิ้งภาพพริ้งพราย        ประดู่ปรายสยายปลิวพลิ้วเป็นแพร
ในความจริงความงามและความเศร้า     ที่คลุกเคล้ามากมายหลายกระแส  
ทั้งที่ทุกข์รุกล้ำกระหน่ำแด                 ทั้งที่แปร้เปี่ยมสุขจนจุกใจ
เราจักยินเพลงทิพย์กรรซิบว่า              หลังจากฟ้าชอุ่มหมองด้วยร้องไห้
หลังพายุดุเดือดหายเหือดไป               ฟ้าจะแผ้วผ่องใสไร้ราคี
ถึงค่ำคืนโคมจะฉายประกายก่อง           ม่านฟ้าหมองจะครามขยับระยับสี
ถึงทิวาฟ้าจะแจ้งแสงระวี                   โปรยปรานีน่านฟ้าหล้าเรืองรอง
     ในชีวิตมิดมนแม้หนไหน                เมื่อทุกข์จางจากใจเคยไหม้หมอง
ในม่านจิตจึงจะมีรุ้งสีทอง                   เป็นค่าของชื่นชมที่ตรมทน
เราพบกันวันนี้จึงมีค่า                       หลังจากฟ้าชุ่มฉ่ำด้วยน้ำฝน
หลังจากที่ชีวิตเรามิดมน                    เราพ้นอุปสรรคที่รักไกล
ฉันกลับมาหาเธออีก... ที่รัก                 แม้เธอจักต้องการฉันหรือไม่
มาด้วยความรักท้นล้นฤทัย                 มาเพื่อให้โลกประจักษ์ว่ารักจริง
(สุดสงวน, พยอม ซองทอง)




๑. มีการสรรใช้ถ้อยคำด้วยความบรรจง ให้เกิดรสคำ รสความ
     ๑.๑ การใช้สัมผัสพยัญชนะหรือสัมผัสอักษร ทำให้เกิดจังหวะในการอ่าน เช่น
          "น้ำในธารกลอกกลิ้งภาพพริ้งพราย"
          "ถึงค่ำคืนโคมจะฉายประกายก่อง
    
     ๑.๒ การใช้สัมผัสภายในวรรคที่แพรวพราวทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษรทำให้เกิดความงามและเสียงไพเราะ  เช่น
           "น้ำในธารกลอกกลิ้งภาพพริ้งพราย"
           "ทั้งที่แปร้เปี่ยมสุขจนจุกใจ"     
     
     ๑.๓ การใช้คำซ้ำ ทำให้ได้ทั้งรสคำและรสความ เช่น
          "ในความจริงความงามและความเศร้า"   
     
     ๑.๔ มีการใช้คำที่ทำให้เกิดจินตภาพได้ชัดเจน เช่น           
           "รุ้งครอบคุ้งหล้า"  ทำให้เห็นวงโค้งของสายรุ้งเหมือนครอบผืนโลกไว้           
           "ประดู่ปรายสยายปลิวพลิ้วเป็นแพร"  จะเห็นภาพดอกประดู่ปลิวร่วงพลิ้วตามสายลมลงมา

๒. การใช้ภาพพจน์
    ๒.๑ บุคลวัต คือการให้สิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์มีกิริยาอาการเหมือนมนุษย์  เช่น
          "เพลงทิพย์กรรซิบว่า"   (กรรซิบ  =  กระซิบ)
          "ฟ้าชอุ่มหมองด้วยร้องไห้"  
          "ถึงทิวาฟ้าจะแจ้งแสงระวี     โปรยปรานีน่านฟ้าหล้าเรืองรอง"    
    
    ๒.๒ อุปลักษณ์
          "ถึงค่ำคืนโคมจะฉายประกายก่อง"   เปรียบดวงจันทร์เหมือนโคมที่ส่องแสงในเวลากลางคืน
          "ในม่านจิตจึงจะมีรุ้งสีทอง"           เป็นความเปรียบความสบายใจ ความสุข หลังจากที่ความทุกข์หมดสิ้นไปแล้วเกิดความสว่าง งดงามในใจเหมือนแสงงดงามของรุ้ง     

    ๒.๓ อติพจน์  ในบทประพันธ์นี้ไม่มีอติพจน์ที่ชัดเจนนัก แต่ในตัวอย่างข้างล่างนี้ก็จัดเป็นอติพจน์ได้ ที่ความรักมากมายจนล้นออกมาจากใจและอยากให้ทั้งโลกได้เห็นถึงความรักจริงของ คนคนหนึ่ง 
          "มาด้วยความรักท้นล้นฤทัย   มาเพื่อให้โลกประจักษ์ว่ารักจริง"


" ขอคารวะ...
   มือที่กุมปากกามาเนรมิต
   และความคิดคือหมึกจารึกไหล
   พาใจเราคดเคี้ยวท่องเที่ยวไป
   บนบันไดกระดาษก้าวทุกคราวครั้ง.."
          (เปิดหนังสือ เนาวรัตน์ พงษ์ไพยูลย์, ๒๕๓๑:๑๗)
มีการสรรคำงดงามและมีความเปรียบอุปลักษณ์ เช่น
   "ความคิดคือหมึก"
   "บันไดกระดาษ"


 


ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ผู้แต่ง  เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
องค์ประกอบ
 ๑. รูปแบบคำประพันธ์  แต่งเป็นร่ายยาว มีคาถาภาษาบาลีแทรก  ลักษณะบังคับ มีดังนี้
         ๑.๑  คณะ บทหนึ่งมีกี่วรรคก็ได้   แต่ละวรรคไม่กำหนดจำนวนคำ ในวรรคหนึ่ง ๆ จึงอาจมีคำน้อยมากแตกต่างกันไป
         ๑.๒  สัมผัส   การสัมผัส คำสุดท้ายของวรรคหน้าสัมผัสกับคำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไป      
         ๑.๓  คำสร้อย ร่ายยาวมักจะมีคำสร้อยเมื่อจบตอน   นิยมลงท้ายด้วยคำว่า แล้วแล นั้นแล นี้เถิด โน้นเถิด ฉะนี้ ฉะนั้น ฯลฯ เป็นต้น
     ลักษณะการแต่งร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก คือ ยกคาถาบาลีมาท่อนหนึ่งแล้วแต่งเป็นร่ายยาวมีคำบาลีแทรก คำบาลีนั้นมีเนื้อความเกี่ยวเนื่องกับเนื้อความที่ตามมา


๒. เรื่องย่อ
          ก่อนจะออกจากประตูป่าสองกุมารคร่ำครวญสั่งความถึงพระมารดาจนเทพยดาสงสาร และเพื่อให้การบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่ของพระเวสสันดรเป็นไปอย่างราบรื่น พระอินทร์จึงมีเทวบัญชาให้เทวดาจำแลงเป็นราชสีห์ เสือโคร่งและเสือเหลืองไปขวางทางมิให้พระนางมัทรีกลับไปทันการบำเพ็ญทานครั้งนี้ จนกระทั่งใกล้ค่ำสัตว์ทั้งสามจึงหลีกทางให้ตามคำวอนขอของพระนาง ครั้นถึงพระอาศรมไม่พบสองกุมาร พระนางมัทรีซึ่งทรงสังหรณ์พระทัยจากพระสุบินอยู่แล้วก็ทรงโศกเศร้ามาก เสด็จไปทูลถามพระเวสสันดร  พระเวสสันดรก็ไม่ทรงตอบแต่กลับทรงตัดพ้ออย่างรุนแรง ทำให้พระนางมัทรีกริ้วยิ่งนัก ได้เสด็จตามหาสองกุมารทุกหนทุกแห่งในป่าก็ไม่ทรงพบ  ด้วยความทุกข์โทมนัสพระทัยอย่างย่งทำให้ทรงถึงแก่วิสัญญีภาพ  ครั้นพระเวสสันดรทรงแก้ไขให้ฟื้นพระสติและตรัสเล่าความจริง พระนางมัทรีก็ทรงอนุโมทนา