วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หลักสูตร ปีการศึกษา ๒๕๔๕

มาตรฐานการเรียนรู้วิชาแกน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

       ๑. สามารถอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และมีประสิทธิภาพ ตีความ แปลความและขยายความ จากเรื่องที่อ่านอย่างลึกซึ้ง รักและสนใจการอ่านหนังสือประเภทต่างๆ อย่างกว้างขวางและใช้แหล่งความรู้พัฒนาประสบการณ์การอ่าน
       ๒. สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์และประเมินค่าเรื่องที่อ่าน โดยใช้ประสบการณ์และความรู้จากการอ่านหนังสือที่หลากหลาย เป็นพื้นฐานการพิจารณาเนื้อหา รูปแบบ รวมทั้งคุณค่าทางวรรณคดีและสังคม โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างหลากหลาย เป็นเครื่องมือพัฒนาสมรรถภาพการอ่านและการเรียนรู้
       ๓. สามารถอ่านหนังสืออย่างหลากหลาย เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสมรรถภาพการพูดการเขียน นำข้อความหรือบทประพันธ์ที่มีคุณค่าและระบุความประทับใจไปใช้ในการสื่อสาร อ้างอิง เลือกอ่านหนังสือจากแหล่งการเรียนรู้และสื่อสารสนเทศ เพื่อความรอบรู้และเป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อ การทำงานและการประกอบอาชีพ มีมารยาทการอ่านและมีนิสัยรักการอ่าน
       ๔. สามารถเขียนเรียงความ ย่อความ เขียนอธิบาย ชี้แจง เขียนโน้มน้าวใจ เขียนแสดงทรรศนะ เขียนบันเทิงคดี สารคดี เขียนเชิงสร้างสรรค์และเขียนเชิงวิชาการ นำกระบวนการเขียนมาพัฒนา
งานเขียน
       ๕. มีมารยาทในการเขียนและมีนิสัยรักการเขียน รู้จักตั้งประเด็น และหัวข้อการเขียนได้ตาม
จุดประสงค์ทางด้านวิชาการและด้านบันเทิงคดี เรียบเรียงงานเขียนโดยมีการอ้างอิงข้อมูลสารสนเทศ
ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งรู้จักขัดเกลางานเขียนของตน
       ๖. สามารถนำความรู้จากการฟังและการดูสื่อรูปแบบต่าง ๆ มาใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ
แก้ปัญหาและใช้แสดงความคิดเห็น สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ สิ่งที่ได้ฟัง ได้ดู อย่างมีเหตุผล
       ๗. สามารถพูดในโอกาสต่าง ๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ พูดโน้มน้าวใจ พูดเพื่อ
ความบันเทิง พูดแสดงความคิดเห็นโดยใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสมและน่าฟัง มีเหตุผล มีกิริยาท่าทาง
และการแสดงออกที่เหมาะสม ตามหลักการพูด มีมารยาทในการพูด การดูและการฟัง
       ๘. เข้าใจธรรมชาติของภาษา พลังของภาษาและลักษณะของภาษาไทย
       ๙. สามารถใช้ประโยคซับซ้อนตามเจตนาของการสื่อสาร โดยเลือกใช้คำและกลุ่มคำได้ชัดเจนและสละสลวย
      ๑๐. สามารถใช้ภาษาสร้างมนุษยสัมพันธ์ในกาปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น แสดงความเห็นเชิงโต้แย้ง
ใช้ภาษาในการขอความร่วมมือโดยการใช้ถ้อยคำ และกิริยาท่าทางที่สุภาพ สามารถใช้คำราชาศัพท์
ได้ถูกต้องตามมาตรฐานของบุคคล คิดไตร่ตรอง และลำดับความคิดก่อนพูดและเขียน
      ๑๑. เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของภาษา รวมทั้งอิทธิพลของภาษาถิ่นและภาษต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย
      ๑๒. สามารถแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ และร่าย ด้วยถ้อยคำไพเราะ แสดงออกทางอารมณ์ และมีคุณค่าทางความคิด
      ๑๓. ศึกษารวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้าน ศึกษาความหมายของภาษาถิ่น สำนวนภาษิตที่มีในวรรณกรรมพื้นบ้านและวิเคราะห์คุณค่าทางด้านภาษาและสังคม
      ๑๔. สามารถใช้ทักษะทางภาษาในการพัฒนาการเรียน การทำงานและการประกอบอาชีพและ
ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในการพัฒนาความรู้ อาชีพและการดำเนินชีวิต
      ๑๕. สามารถใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนในการสื่อสารตามหลักการใช้ภาษา ใช้ภาษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์งานเชิงวิชาการ เห็นคุณค่าการใช้ตัวเลขไทย
      ๑๖ . ใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และพัฒนาบุคลิกภาพสอดคล้องกับ
ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม ชื่นชมผู้ใช้ภาษาไทยถูกต้อง มีวัฒนธรรมและคุณธรรม
ในการใช้ภาษา เข้าใจการใช้ภาษาของกลุ่มบุคคลในวงการต่าง ๆ ในสังคม
      ๑๗. สามารถอ่านบทกวีนิพนธ์ประเภทกาพย์ กลอน ร่าย โคลง ฉันท์ ลิลิต บทละครและวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี และบทความ สามารถใช้หลักการวิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น พิจารณาเรื่องที่อ่านโดยวิเคราะห์องค์ประกอบของงานประพันธ์แต่ละชนิดเพื่อประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ เนื้อหาและคุณค่าทางสังคมและนำไปใช้ในชีวิตจริง
      ๑๘. สามารถเข้าใจประวัติวรรณคดีและวรรณกรรมในแต่ละสมัย ปัจจัยแวดล้อมที่มีส่วนให้เกิดวรรณคดีและวรรณกรรม เข้าใจวิวัฒนาการทางวรรณคดีและวรรณกรรมในแต่ละสมัยเพื่อเป็นความรู้
พื้นฐานในการเข้าใจโลกทัศน์และวิถีชีวิตของคนไทย

-----------------------------------------------


ชื่อและหน่วยการเรียนของรายวิชาแกน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

๑. รายวิชา ทย๑๐๑ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร               ๒ คาบ / สัปดาห์ / ภาคเรียน         ๑.๐ หน่วยการเรียน
๒. รายวิชา ทย๑๐๒ วรรณวรรณกรรมกับมนุษย์             ๒ คาบ / สัปดาห์ / ภาคเรียน         ๑.๐ หน่วยการเรียน

๓. รายวิชา ทย๑๐๓ หลักภาษาไทยเพื่อสร้างสรรค์        ๒ คาบ / สัปดาห์ / ภาคเรียน         ๑.๐ หน่วยการเรียน
๔. รายวิชา ทย๑๐๔ สัมมนาภาษาไทย                          ๒ คาบ / สัปดาห์ / ภาคเรียน         ๑.๐ หน่วยการเรียน 







รายวิชา ทย๑๐๑ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร         

๒ คาบ / สัปดาห์ / ภาคเรียน                                                                               ๑.๐ หน่วยการเรียน
___________________________________________________________________________


จุดประสงค์การเรียนรู้ 
       ๑. อธิบายความหมาย องค์ประกอบ วัตถุประสงค์ อุปสรรคของการสื่อสาร วิธีแก้ไขและ
ประเภทของการสื่อสารได้
       ๒. อ่านเรื่องราวต่างๆ ที่ได้ศึกษาค้นคว้า หรือจากประสบการณ์ให้บุคคลอื่นฟังได้อย่าง
ถูกต้อง น่าสนใจ
       ๓. ฟัง ดู อ่านเรื่องราวต่างๆ แล้วบอกจุดมุ่งหมาย สาระ แนวคิด ตลอดจนนำข้อมูลที่ได้
มาวิเคราะห์ วิจารณ์ได้
       ๔. พูดแสดงทรรศนะ โน้มน้าวใจ โต้แย้ง ได้อย่างมีวิจารณญาณ
       ๕. พูดเสนอความรู้ วิเคราะห์ วินิจสาร วิจารณ์คุณค่าของวรรณกรรม อย่างมีเหตุผลและ
สร้างสรรค์
       ๖. พูดในรูปแบบต่าง ๆ ตามโอกาสหรือสถานการณ์ที่กำหนดได้
       ๗. สะกดคำ สรรใช้ถ้อยคำ และแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำให้ถูกต้องเหมาะสมได้
       ๘. ย่อ หรือสรุป ความจากการฟังและการอ่านได้
       ๙. เขียนบันทึกรูปแบบต่าง ๆ ได้
      ๑๐. เขียนจดหมายประเภทต่างๆ ได้
      ๑๑. เขียนโวหารชนิดต่างๆ ได้
      ๑๒. เขียนความเรียง เรียงความ และบทความได้
      ๑๓. เขียนเชิงกิจธุระในรูปแบบต่างๆ ได้
      ๑๔. เขียนเชิงสร้างสรรค์ ในรูปแบบของเรื่องเล่า นิทาน หรือเรื่องสั้นได้
      ๑๕. เขียนเชิงวิชาการได้


คำอธิบายรายวิชา 
          เลือกฟังและดูจากสื่อต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจแก้ปัญหาและแสดงความคิดเห็นอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ความคิด ความรู้สึกในการสื่อสารกับบุคคลอื่นในโอกาสต่างๆ สามารถนำความรู้จากการฟังดูอ่าน เรื่องราวประเภทข่าว สารคดี บันเทิงคดี และนำมาใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจแก้ปัญหา แสดงความคิดเห็นวิเคราะห์วิจารร์ได้อย่างมีเหตุผล สามารถพูดในโอกาสต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสม น่าฟังและมีมารยาทในการฟัง
การดูและการพูด
           ฝึกการเรียนสื่อสาร แสดงความประสงค์ให้ผู้อื่นทราบ เขียนเชิงกิจธุระ เขียนเชิงวิชาการและเขียนเชิงสร้างสรรค์ ได้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา เหมาะสมกับสถานการณ์ ขนบธรรมเนียม ประเพณีนิยม วัฒนธรรม ใช้ภาษาอย่างมีคุณธรรม เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยเน้นให้ผู้รับสารได้รับสารอย่างชัดเจน พูดและเขียนแสดงความรู้ ความคิดเห็น ความรู้สึกจากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมให้ผู้อื่นเข้าใจได้
          เรียบเรียงงานเขียนโดยมีการอ้างอิงข้อมูลสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งรู้จักทบทวน
ขัดเกลางานเขียน

________________________




รายวิชา ทย๑๐๒ วรรณกรรมกับมนุษย์
๒ คาบ / สัปดาห์ / ภาคเรียน                                                                     ๑.๐ หน่วยการเรียน
_____________________________________________________________________


จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. จำแนกประเภทของวรรณกรรมได้
๒. วิเคราะห์ วิจารณ์และประเมินค่าวรรณกรรมที่อ่านหรือฟังได้
๓. ถ่ายทอดเรื่องที่อ่าน หรือเรื่องราวจากประสบการณ์ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
๔. บรรยายความประทับใจจากการอ่านวรรณกรรมได้
๕. นำความรู้ที่ได้รับจากวรรณกรรมมาเป็นข้อมูลอ้างอิงในการพูดหรือเขียนได้
๖. สรรคำมาใช้ในการพูดหรือเขียนให้เกิดความงามทางภาษาได้ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
๗. แสดงความคิดในแง่มุมต่าง ๆ จากวรรณกรรมได้อย่างมีเหตุผล
๘. สามารถใช้ภาษาสื่อความเข้าใจในการแปลความ ตีความ ขยายความจากคำประพันธ์ได้
๙. สามารถเข้าใจภาษา เห็นคุณค่าภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ บอกแนวคิดค่านิยม ขนบวัฒนธรรมจากวรรณกรรมสมัยต่าง ๆ และสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นได้
๑๐. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ จากวรรณกรรมในแต่ละยุคสมัยและนำมาปรับเปลี่ยนใช้ในชีวิตจริงได้
๑๑. วิเคราะห์คุณค่าของงานประพันธ์ ด้านวรรณศิลป์ และด้านทางสังคมได้
๑๒. นำเสนอผลการอ่านวรรณกรรมที่เลือกตามความประทับใจโดยแสดงให้เห็นคุณค่าของของงานประพันธ์นั้นๆ




คำอธิบายรายวิชา
          ศึกษาประเภทของวรรณกรรมไทย วิเคราะห์และประเมินค่าเรื่องราวที่ประทับใจ เพื่อนำข้อมูล
มาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้อย่างถูกต้องและมีเหตุผล สรรคำในการเขียนร้อยแก้ว ร้อยกรอง
ได้เหมาะสมไพเราะ ศึกษาเปรียบเทียบภาษาจากวรรณกรรมสมัยต่างๆ ในแต่ละยุคสมัยที่ได้ทั้ง
คุณค่าด้านวรรณศิลป์และคุณค่าทางสังคม


______________________





รายวิชา ทย๑๐๓ หลักภาษาไทยเพื่อสร้างสรรค์
๒ คาบ / สัปดาห์ / ภาคเรียน                                                                    ๑.๐ หน่วยการเรียนจุดประสงค์การเรียนรู้

_____________________________________________________________________


       ๑. เข้าใจประวัติความเป็นมาและเกียรติภูมิของภาษาไทย
       ๒. อธิบายธรรมชาติของภาษาได้
       ๓. อธิบายอิทธิพลของภาษาถิ่นและภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทยได้
      ๔. บอกลักษณะควรสังเกตบางประการของภาษาไทยได้
      ๕. จำแนกคำชนิดต่าง ๆได้ และเข้าใจพลังของภาษา และลักษณะของคำไทย
      ๖. อธิบายข้อสังเกต การสร้างคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
      ๗. สามารถเรียงคำเข้าประโยคได้ถูกต้อง
       ๘. วิเคราะห์รูปประโยคชนิดต่าง ๆได้ถูกต้อง และระบุข้อบกพร่องของประโยค
       ๙. บอกเจตนาและน้ำเสียงของประโยคได้
      ๑๐. ใช้สำนวน คำพังเพย สุภาษิตได้ถูกต้อง
      ๑๑. อภิปรายเกี่ยวกับภาษาและเหตุผลได้
      ๑๒. ใช้ราชาศัพท์ได้ถูกต้อง เหมาะสมกับบุคคล
      ๑๓. สามารถอธิบายความเปลี่ยนแปลงของภาษาได้
      ๑๔. เห็นคุณค่าของเลขไทยและภาคภูมิใจในภูมิปัญญาไทย
    


คำอธิบายรายวิชา
           ศึกษาหลักภาษาไทย เพื่อนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันเข้าใจธรรมชาติของภาษา
พลังของภาษา
หลักเกณฑ์การใช้ภาษา การเปลี่ยนแปลงของภาษา อิทธิพลของภาษาถิ่นและภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย ใช้ประโยคซับซ้อน ตรงตามเจตนาของการสื่อสาร เลือกใช้คำ กลุ่มคำ และถ้อยคำสำนวน เหมาะสมกับบุคคล อาชีพ เพศและวัย ใช้ราชาศัพท์ได้ถูกต้องตามฐานะใช้ภาษา
ให้เหมาะกับเหตุผล เห็นคุณค่าของภาษาไทยและการใช้เลขไทย


______________________







รายวิชา ทย๑๐๔ สัมมนาภาษาไทย
๒ คาบ / สัปดาห์ / ภาคเรียน                                                                              ๑.๐ หน่วยการเรียน
________________________________________________________________________


จุดประสงค์การเรียนรู้
       ๑. วิเคราะห์ลักษณะการใช้ภาษาที่ปรากฏในชีวิตประจำวันได้
       ๒. นำลักษณะภาษาไทยที่วิเคราะห์ได้ เป็นเครื่องมือ ในการแก้ปัญหาการใช้ภาษาของตน
       ๓. นำความรู้จากวรรณกรรมมาวิเคราะห์ วิจารณ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการสัมมนาได้


คำอธิบายรายวิชา 
          ศีกษาวิเคราะห์ปัญหลักสูตร ๒๕๔๕หาการใช้ภาษาไทย โดยนำความรู้ ความคิดจากการเรียนวิชาภาษาไทยและประสบการร์จากการอ่านวรรณกรรมเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ วิจารณ์ ในที่ประชุมในรูปแบบของ
การสัมมนา

______________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น