แผนการจัดและประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ
สาขาวิชา ภาษาไทย รายวิชา ท๓๐๑๐๖ วรรณคดีกับชีวิต
จำนวนหน่วยกิต ๑.๐ หน่วยกิต ภาคเรียน/ปีการศึกษา ๒/๒๕๕๔
ครูผู้สอน นางนฤนาถ ธีรภัทรธำรง นายสมศักดิ์ ทองช่วย นางมารยาท ประเสริฐ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๖
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างวัฒนธรรมกับภาษา วิเคราะห์วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ค่านิยม ความเชื่อของคนในสังคมที่ปรากฏในวรรณคดี รู้จักนำข้อคิดในวรรณคดีมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต สามารถคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านละวิเคราะห์ประเมินคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำความรู้ความคิดไปใช้ในการตัดสินแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต ศึกษาวิเคราะห์ ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของคนในสังคมสมัยก่อน
ศึกษาเรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ในแพทยศาสตร์สงเคราะห์เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา สามก๊กตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ กาพย์เห่เรือ สามัคคีเภทคำฉันท์ ไตรภูมิพระร่วง ตอนมนุสสภูมิ โคลนติดล้อ หัวใจชายหนุ่มหรือวรรณกรรมอื่นๆ ที่อ่าน เห็นคุณค่าทางวรรณศิลป์และสังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง รวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้านและอธิบายภูมิปัญญาทางภาษา ชีวิตความเป็นอยู่และค่านิยมที่ปรากฏ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. บอกความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับชีวิตได้
๒. บอกสภาพสังคม ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยมในวรรณคดีเรื่องที่กำหนดให้ศึกษาได้
๓. ประมวลคุณค่าทางวรรณศิลป์ (การสรรคำ ความดีเด่นด้านต่างๆ ของร้อยกรอง ภาพพจน์ฯลฯ) จากวรรณคดีที่ศึกษาได้
๔. วิเคราะห์ชีวิตที่ปรากฏในวรรณคดี วรรณกรรมปัจจุบันและวรรณกรรมพื้นบ้าน ได้
๕. สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้
๓. กำหนดการจุดประสงค์การเรียนรู้
สัปดาห์ที่ (วันที่) | คาบที่ | หัวข้อ / สาระการเรียนรู้ | จุดประสงค์การเรียนรู้ |
๑ (๒๕-๒๘ต.ค.๕๔) | ๑-๒ | ปฐมนิเทศ ทดสอบความรู้ก่อนเรียน | ๑.บอกวิธีการจัดการเรียนการสอน ท๓๐๑๐๖ ได้ ๒.ตอบคำถามจากแบบฝึกได้ร้อยละ ๗๐ |
๒-๓ (๓๑ต.ค.-๑๑พ.ย.) | ๓-๖ | ๑.คุณค่าของวรรณคดีด้านวรรณศิลป์ ๒.กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง -วรรณคดีแสดงวัฒนธรรม -ศิลปกรรม -กระบวนเรือ | ๑ บอกคุณค่าของวรรณคดีด้านวรรณศิลป์ได้๒.บอกสภาพสังคม,ความเป็นอยู่,วัฒนธรรม,ความเชื่อในวรรณคดีเรื่องที่กำหนดให้ศึกษาได้ |
๔-๕ (๑๔-๒๕ พ.ย.) | ๗-๑๐ | ๑.ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับชีวิต ๒.โคลนติดล้อ-ทรรศนะที่มีต่ออาชีพ ๓.หัวใจชายหนุ่ม –วิถีชีวิตของหนุ่มนักเรียนนอก | ๑.บอกความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับชีวิตได้๒.บอกสภาพสังคม, ความเป็นอยู่, วัฒนธรรม, ความเชื่อในวรรณคดีเรื่องที่กำหนดให้ศึกษาได้ |
๖ (๒๘พ.ย.-๒ธ.ค.) | ๑๑-๑๒ | ๑. สามก๊กตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ | ๑.บอกสภาพสังคม ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ความเชื่อในวรรณคดีเรื่องที่กำหนดให้ศึกษาได้ ๒.วิเคราะห์ชีวิตที่ปรากฏในวรรณคดี วรรณกรรมปัจจุบันได้ |
๗ ( ๖-๙ ธ.ค. ) | ค่ายวิชาการ | ||
๘-๙ (๕-๑๖ธ.ค.) | ๑๕-๑๘ | ๑.คุณค่าของวรรณคดีด้านสังคม ๒.สามัคคีเภทคำฉันท์ | ๑.บอกคุณค่าของวรรณคดีด้านสังคมได้ ๒.บอกสภาพสังคม, ความเป็นอยู่, วัฒนธรรม, ความเชื่อในวรรณคดีเรื่องที่กำหนดให้ศึกษาได้ |
๑๐ (๒๕,๒๗,๒๙ พ.ย.) | ๑๙-๒๐ | สอบกลางภาค | |
๑๑-๑๒ (๒-๑๓ ม.ค.๕๕) | ๒๑-๒๔ | ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา สันดานมนุษย์-เอาดีใส่ตัวของขุนช้าง | ๑.บอกสภาพสังคม ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ความเชื่อในวรรณคดีเรื่องที่กำหนดให้ศึกษาได้ ๒.วิเคราะห์ชีวิตที่ปรากฏในวรรณคดี วรรณกรรมปัจจุบันได้ |
๑๓-๑๔ (๙-๒๐ ม.ค.) | ๒๕-๒๘ | คัมภีร์ฉันทศาสตร์ในแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์(ร้อยกรองตำรายา) | ๑.บอกสภาพสังคม ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ความเชื่อในวรรณคดีเรื่องที่กำหนดให้ศึกษาได้ |
๑๕ (๒๓-๒๗ ม.ค.) | ๒๙-๓๐ | ไตรภูมิพระร่วงตอน มนุสสภูมิ | ๑.บอกสภาพสังคม ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ความเชื่อในวรรณคดีเรื่องที่กำหนดให้ศึกษาได้ ๒.วิเคราะห์ชีวิตที่ปรากฏในวรรณคดี วรรณกรรมปัจจุบันได้ |
๑๖-๑๗ (๓๐ม.ค.-๑๐ก.พ.) | ๓๑-๓๔ | วรรณกรรมพื้นบ้าน -ภาคใต้ -ภาคเหนือ -ภาคกลาง -ภาคตะวันออก -ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ๑.วิเคราะห์ชีวิตที่ปรากฏใน วรรณกรรมพื้นบ้าน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้ |
๑๘ (๑๓-๑๗ก.พ.) | ๓๕-๓๖ | วรรณกรรมนานาชาติ | ๑.วิเคราะห์ชีวิตที่ปรากฏใน วรรณกรรมนานาชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้ |
๑๙ (๒๐-๒๔ก.พ.) | ๓๗-๓๘ | ทบทวน/สรุปสาระสำคัญ | |
๒๐ (๒๗,๒๙ก.พ.,๑มี.ค.) | สอบปลายภาค |
๔. แผนการประเมินผลการเรียนรู้และการมอบหมายงาน
การสอนรายวิชา ท๓๐๑๐๖ วรรณคดีกับชีวิต ประจำภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ มีแผนการประเมินผลการเรียนรู้
ดังนี้
๔.๑ ประเมินจากงานหรือการบ้านที่มอบหมาย ๖๐ คะแนน
๔.๒ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน : จิตพิสัย ๑๐ คะแนน
๔.๓ ประเมินจากการสอบกลางภาค ๑๐ คะแนน
๔.๔ ประเมินจากการสอบปลายภาค ๒๐ คะแนน
รวม ๑๐๐ คะแนน
รายละเอียดการประเมินผลแต่ละหัวข้อเป็นดังนี้
๔.๑ ประเมินจากงานหรือการบ้านที่มอบหมาย (๖๐ คะแนน)
รายการ | รูปแบบ | วันที่มอบหมาย | กำหนดส่ง | เวลาที่ใช้ | คะแนน |
๑.แบบทดสอบเกี่ยวกับวรรณคดี | งานเดี่ยว | ๒๕-๒๘ต.ค.๕๔ | ในคาบเรียน | ๓๐ | ๔ |
๒.-ใบงาน/แบบทดสอบคุณค่าด้านวรรณศิลป์จากเรื่อง กาพย์เห่เรือ -การอ่านทำนองเสนาะประเภทการเห่เรือ | งานเดี่ยว งานกลุ่ม | ๓๑ต.ค.-๑๑พ.ย.๕๔ | ในคาบเรียน ในคาบเรียน | ๓๐ ๒๐ | ๔ ๒ |
๓.-ใบงาน/แบบทดสอบเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับชีวิต จากเรื่อง โคลนติดล้อและหัวใจชายหนุ่ม -ผลงานกลุ่ม - ความสัมพันธ์ของเรื่องกับชีวิต - สภาพสังคม - ด้านความเป็นอยู่ - ด้านวัฒนธรรม - ด้านความเชื่อ - คุณค่าด้านวรรณศิลป์ | งานเดี่ยว งานกลุ่ม | ๑๔-๒๕ พ.ย.๕๔ | ในคาบเรียน ในคาบเรียน | ๓๐ ๓๐ | ๔ ๓ |
๔.-ใบงาน/แบบทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับชีวิตและคุณค่าด้านสังคมจากเรื่องสามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ -ผลงานกลุ่ม- ความเป็นอยู่ - วัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่อง - วิเคราะห์ตัวละครสำคัญ | งานเดี่ยว งานกลุ่ม | ๒๘พ.ย.-๒ธ.ค.๕๔ | ในคาบเรียน ในคาบเรียน | ๓๐ ๔๕ | ๓ ๓ |
๕.-ใบงาน/แบบทดสอบคุณค่าของวรรณคดีด้านสังคมจากเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ -งานกลุ่ม -การแสดงบทบาทสมมุติ -การอภิปรายเรื่องคุณธรรม -การเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ปัจจุบัน | งานเดี่ยว งานกลุ่ม | ๕-๑๖ธ.ค.๕๔ | ในคาบเรียน ในคาบเรียน | ๓๐ ๒๐ | ๔ ๓ |
สอบกลางภาค ๒๕,๒๗,๒๙ พ.ย. ๒๕๕๔ | ๑๐ | ||||
๖.-ใบงาน/แบบทดสอบคุณค่าด้านสังคมเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างถวายฏีกา -สัมมนา “ถ้าท่านเป็นคณะลูกขุนในการพิจารณาคดีที่ขุนช้างถวายฎีกา ท่านจะพิจารณาตัดสินคดีนี้อย่างไร ” | งานเดี่ยว งานกลุ่ม | ๒-๑๓ ม.ค.๕๕ | ในคาบเรียน ในคาบเรียน | ๓๐ ๓๐ | ๔ ๓ |
๗.-debate คุณค่าของคัมภีร์ฉันทศาสตร์ในแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ -ผังความคิดความรู้ที่ได้ | งานกลุ่ม งานกลุ่ม | ๙-๒๐ ม.ค.๕๕ | ในคาบเรียน ในคาบเรียน | ๔๕ ๓๐ | ๔ ๓ |
๘.-ใบงาน/แบบทดสอบสภาพสังคม จากเรื่องไตรภูมิพระร่วงตอนมนุสสภูมิ -อภิปราย | งานเดี่ยว งานกลุ่ม | ๒๓-๒๗ ม.ค.๕๕ | ในคาบเรียน ในคาบเรียน | ๓๐ ๔๕ | ๔ ๓ |
๙. สัมมนา วรรณกรรมพื้นบ้าน | งานกลุ่ม | ๓๐ม.ค.-๑๐ก.พ.๕๕ | ในคาบเรียน | ๕๐ | ๕ |
๑๐. สัมมนา วรรณกรรมนานาชาติ | งานกลุ่ม | ๑๓-๑๗ก.พ.๕๕ | ในคาบเรียน | ๕๐ | ๔ |
สอบปลายภาค ๒๗, ๒๙ ก.พ., ๑ มี.ค. ๒๕๕๕ | ๒๐ |
หมายเหตุ ๑. เวลาที่นักเรียนควรใช้ หมายถึง เวลาที่ครูได้พิจารณาว่า ในการทำงานหรือทำการบ้านชิ้นนั้น ๆ นักเรียนควรใช้เวลาทำประมาณเท่าใด การประมาณการดังกล่าว ครูได้พิจารณาจากความยาก ความซับซ้อน และปริมาณของงาน หรือการบ้านชิ้นนั้น ๆ
๒. งานหรือการบ้านที่มอบหมายแต่ไม่ได้คิดคะแนนก็ได้นำเสนอไว้ในตารางนี้ด้วย เพื่อเป็นข้อมูลว่างานหรือการบ้านที่ได้มอบหมายทั้งหมดของรายวิชานี้นักเรียนจะต้องใช้เวลาทำมากน้อยเพียงใด
๔.๒ การประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน : จิตพิสัย ( ๑๐ คะแนน )
การประเมินพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายวิชา ท๓๐๑๐๖ วรรณคดีกับชีวิต ประจำภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ได้กำหนดหัวข้อการประเมินดังตารางข้างล่าง
หัวข้อการประเมิน | ผลการประเมิน | ||||
(๑) ความรับผิดชอบ (๔ คะแนน) ๑. เข้าชั้นเรียนตรงเวลา | ดีเยี่ยม (๕) | ดีมาก (๔) | ดี (๓) | ปานกลาง (๒) | ต้อง ปรับปรุง (๑) |
๒. ส่งงานตรงเวลา | |||||
๓. ปรับปรุง – พัฒนาผลงานของตนเองสม่ำเสมอ | |||||
๔. มีความพร้อมในการเรียน (การเตรียมอุปกรณ์,การร่วมแสดง ความคิดเห็น) | |||||
(๒) การปฏิบัติกิจกรรม (๓ คะแนน) ๑. ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม | |||||
๒. ความกระตือรือร้นในการทำงาน | |||||
๓. ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน | |||||
(๓) ความมุ่งมั่นในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง (๓ คะแนน) ๑. ความตั้งใจที่จะใช้ภาษาไทย-เลขไทยให้ถูกต้อง เหมาะสม | |||||
๒. ปรับปรุงความบกพร่องในการใช้ภาษาสม่ำเสมอ | |||||
๓. มารยาทในการนำเสนอผลงาน | |||||
รวม | |||||
รวม = ...................................................... = ...................................................... |
๔.๓. การประเมินจากการสอบกลางภาค (๑๐ คะแนน )
กำหนดสอบกลางภาค ระหว่างวันที่ ๒๕,๒๗.๒๙ พ.ย. ๒๕๕๕ เวลาที่ใช้ในการสอบ ๖๐ นาที หัวข้อ / เนื้อหาและลักษณะของข้อสอบ มีรายละเอียดดังตาราง
หัวข้อ/เนื้อหาที่ใช้ในการสอบกลางภาค | ลักษณะ/จำนวนข้อสอบ | คะแนน |
๑. วิเคราะห์สภาพสังคม ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ความเชื่อ จากวรรณกรรม/วรรณคดีที่กำหนดให้ | เขียนตอบ จำนวน ๑ ข้อ | ๑๐ |
๔.๔. การประเมินจากการสอบปลายภาค (๒๐ คะแนน )
กำหนดสอบปลายภาค ระหว่างวันที่ ๒๗, ๒๙ ก.พ., ๑ มี.ค. ๒๕๕๕ เวลาที่ใช้ในการสอบ ๖๐ นาที หัวข้อ/เนื้อหาและลักษณะของข้อสอบ มีรายละเอียดดังตาราง
หัวข้อ/เนื้อหาที่ใช้ในการสอบปลายภาค | ลักษณะ/จำนวนข้อสอบ | คะแนน |
๑.วิเคราะห์สภาพสังคม ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ความเชื่อ จากวรรณกรรม ที่กำหนดให้ | เขียนตอบ จำนวน ๑ ข้อ | ๑๐ |
๒.วิเคราะห์ชีวิตจากวรรณคดี/วรรณกรรมที่กำหนดให้ | เขียนตอบ จำนวน ๑ ข้อ | ๑๐ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น