บทที่ ๒
การเขียนบันทึก
สาระสำคัญ
คนเราไม่สามารถจะจดจำทุกสิ่งทุกอย่าง เราจึงควรบันทึกสิ่งต่างๆ ไว้ เพื่อประโยชน์ในการช่วยจดจำและนำไปใช้ หรือไว้อ่านทบทวนเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นข้อเตือนใจ หรือเป็นความชื่นชม ความภูมิใจในชีวิต ฉะนั้นการเขียนบันทึกเพื่อให้สามารถบันทึกในลักษณะต่างๆ ให้ถูกต้องจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง
จุดประสงค์การเรียนรู้
นักเรียนสามารถเขียนบันทึกประเภทต่างๆ ได้ถูกต้อง
จุดประสงค์การเรียนรู้ย่อย
๑. บอกประโยชน์ของการบันทึกได้
๒. บอกลักษณะของบันทึกประเภทต่างๆ ได้
๓. เขียนบันทึกความจำได้
๔. เขียนบันทึกประสบการณ์ได้
๕. เขียนบันทึกความรู้ได้
๖. เขียนบันทึกการประชุมได้
เนื้อเรื่อง
ความหมายของบันทึก
ประเภทของบันทึก
ข้อควรคำนึงในการเขียนบันทึก
ความหมายของบันทึก
บันทึก หมายถึง การเขียนจดข้อความไว้เพื่อกันลืม เพื่อเตือนความจำ หรือเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
ประเภทของบันทึก
ในเอกสารนี้จะแบ่งบันทึกออกเป็น ๔ ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
๑. บันทึกช่วยความจำ
๒. บันทึกประสบการณ์
๓. บันทึกความรู้
๔. บันทึกการประชุม
บันทึกช่วยความจำ เป็นบันทึกที่ช่วยความจำในกิจธุระประจำวัน เช่น การบันทึกชื่อบุคคล
ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือบันทึกเกี่ยวกับการนัดหมาย การประกอบกิจธุระต่างๆ
ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือบันทึกเกี่ยวกับการนัดหมาย การประกอบกิจธุระต่างๆ
บันทึกประสบการณ์ มีลักษณะคล้ายบันทึกช่วยความจำ แต่บันทึกอย่างละเอียดกว่าบันทึกช่วยความจำ และ
สอดแทรกความคิดเห็น ความรู้สึกไว้ด้วย
สอดแทรกความคิดเห็น ความรู้สึกไว้ด้วย
บันทึกความรู้ เป็นบันทึกที่มุ่งประโยชน์ทางวิชาการอาจมีไว้เพื่อเตรียมสอบ เพื่อเตรียมเขียนรายงาน หรือ
เพื่อประดับความรู้ เป็นต้น
เพื่อประดับความรู้ เป็นต้น
บันทึกการประชุม บางครั้งเรียกว่ารายงานการประชุม เป็นหน้าที่ของเลขานุการในการประชุมนั้น ที่ต้องบันทึกความคิดเห็นของผู้เข้าประชุม พร้อมทั้งญัตติ และมติเพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงานของหน่วยงานนั้นๆ
การเขียนบันทึกช่วยความจำ
จุดมุ่งหมายในการเขียนบันทึกช่วยความจำ การเขียนบันทึกช่วยความจำมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
๑. บันทึกไว้ใช้เป็นเวลานาน เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ วันสำคัญ
๒. บันทึกการนัดหมาย
๓. บันทึกเตือนความจำ เช่น จะต้องทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด
ประเภทของบันทึกช่วยความจำ
๑. บันทึกช่วยความจำเฉพาะกิจธุระแต่ละคราว
๒. บันทึกช่วยความจำระยะยาว
บันทึกช่วยความจำเฉพาะกิจธุระแต่ละคราว การบันทึกช่วยความจำเฉพาะกิจธุระแต่ละคราวควรบันทึก
สิ่งเหล่านี้ คือ
สิ่งเหล่านี้ คือ
๑. บันทึกวันเวลา ที่จะต้องประกอบกิจธุระนั้น
๒. บันทึก ชื่อ บุคคล ที่จะต้องประกอบกิจธุระด้วย (ถ้ามี)
๓. บันทึก สถานที่ ที่จะไปประกอบกิจธุระนั้น
ตัวอย่าง บันทึกช่วยความจำ เฉพาะกิจธุระแต่ละคราว
๑๐ ธันวาคม ๕๔ ส่งงานการฟังรายบุคคล ก่อน ๑๒.๕๐ น.
๑๕ ธันวาคม ๕๔ สอบหนังสือนอกเวลา “ชีวิตบ้านป่า” ในชั่วโมงเรียน
๑๗ ธันวาคม ๕๔ กวาด ถูก จัดห้องนอนใหม่
บันทึกช่วยความจำระยะยาว การบันทึกช่วยความจำระยะยาวมีส่วนที่ต้องบันทึกดังนี้
๑. บันทึกชื่อ ที่อยู่
๒. บันทึกหมายเลขโทรศัพท์
๓. บันทึกวันสำคัญต่างๆ
ตัวอย่าง บันทึกช่วยความจำระยะยาว
บันทึกชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์
อ.นฤนาถ ธีรภัทรธำรง โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม โทร. ๐๘๑-๗๒๐-๕๗๔๒
นิพนธ์ ดีงาม ๒๔ ถ.พระรามหก อ.เมือง จ.ตรัง ๙๒๐๐๐ โทร. ๐๗๕-๒๑๘-๒๗๖
บันทึกวันสำคัญส่วนตัว
๑๒ กรกฎาคม วันเกิดเปิ้ล
๙ ตุลาคม วันเกิดคุณยาย
๑๐ ธันวาคม วันเกิดคุณตา
การเขียนบันทึกประสบการณ์
บันทึกประสบการณ์ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ บันทึกประจำวันหรืออนุทิน และบันทึกประสบการณ์พิเศษ
๑. บันทึกประจำวันหรืออนุทิน
การบันทึกประจำวัน หรือบันทึกอนุทิน ควรทำดังนี้ คือ
๑.๑ ควรมีสมุดบันทึกโดยเฉพาะสำหรับบันทึก ซึ่งอาจเป็นสมุดอนุทินที่มีขายโดยเฉพาะ หรือสมุดธรรมดา หรือทำขึ้นเองก็ได้
๑.๒ ควรบันทึกเป็นประจำทุกวัน
๑.๓ บันทึกประสบการณ์ อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็นของตน
๑.๔ ควรบันทึกสิ่งที่เป็นประโยชน์ ข้อคิด สิ่งที่ควรสังเกต สิ่งที่เป็นบทเรียนชีวิต แม้ความบกพร่อง
ของตนก็ควรบันทึกไว้เป็นบทเรียน
ของตนก็ควรบันทึกไว้เป็นบทเรียน
๑.๕ ควรหลีกเลี่ยงการกล่าวร้ายผู้อื่น และการบันทึกเรื่องไร้สาระ
๑.๖ ใช้ภาษาธรรมดา ไม่ต้องห่วงใยเรื่องแบบแผน
๑.๗ ควรเขียนวันเดือนปี ที่เขียนกำกับไว้ทุกครั้ง
ประโยชน์ของการบันทึกอนุทิน
๑. สามารถแสดงความรู้สึกความคิดเห็นได้อย่างอิสระซึ่งมีผลต่อการผ่อนคลายความเครียดได้
๒. ทำให้รู้จักตนเองมากขึ้นและสามารถนำมาเป็นข้อคิดในการปรับปรุงแก้ไขตนเอง
๓. ช่วยฝึกทักษะการเขียน
ตัวอย่าง บันทึกอนุทิน
๓๐ มิถุนายน
วันนี้ตอนเช้ารู้สึกปวดหัว ว่าจะขาดโรงเรียนเสียแล้ว แต่ก็จำเป็นต้องไป เพราะวันนี้มีสอบภาษาอังกฤษหลัก นั่งไปในรถหลับไปจนถึงโรงเรียน พอถึงโรงเรียนก็เล่นบอลกับเพื่อนๆ นิดหน่อย ตอนนั้นไม่รู้หายปวดหัวตั้งแต่เมื่อไหร่ ตอนที่เรียนเคมี วันชัยชวนเพื่อนคุยจนอาจารย์โกรธ เลยถูกเทศน์ไป ๑ กัณฑ์ใหญ่ ทำเอาใจคอไม่ค่อยดี
วันนี้มีการบ้านหลายอย่าง แต่โล่งใจที่ทำเสร็จจนได้ อยากอ่านหนังสือสักหน่อยนะนี่ แต่คิดๆ แล้วนอนดีกว่า ง่วงจังเลย
กบ
๒. บันทึกประสบการณ์พิเศษ
ในชีวิตคนเราต้องประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย บางอย่างอาจมีคุณค่าควรแก่การบันทึกไว้ การบันทึกประสบการณ์พิเศษ ควรทำดังนี้
๑. บันทึกสิ่งที่ได้พบเห็น เมื่อมีโอกาสไปต่างถิ่นหรือทำกิจกรรมต่างๆไม่จำเป็นต้องบันทึกละเอียด แต่ต้อง
มีหัวข้อครบถ้วน
มีหัวข้อครบถ้วน
๒. ควรบันทึกเหตุการณ์เป็นประจำ และระบุ วัน เวลา สถานที่ ที่เหตุการณ์เกิดขึ้นเสมอ
๓. บันทึกตามความเป็นจริง และอาจแทรกความคิดเห็นของตนลงไว้
๔. บันทึกให้เห็นภาพชัดเจน ลำดับความดี ใช้ภาษาง่ายๆ ตรงไปตรงมา
ประโยชน์ของการบันทึกประสบการณ์พิเศษ
๑. ส่งเสริมให้เป็นคนที่มีความสังเกตพิจารณา
๒. สามารถถ่ายทอดผลการสังเกตของตนให้ผู้อื่นทราบได้
๓. ช่วยส่งเสริมการเขียนเรียงความ
๔. อาจนำมาขยายเป็นสารคดีได้ เช่น สารคดีการท่องเที่ยว
๕. ช่วยฝึกทักษะการเขียน
ตัวอย่าง บันทึกประสบการณ์พิเศษ
เที่ยวเกาะที่กันตัง
ช่วงนี้เป็นฤดูร้อนคนจึงจะไปท่องเที่ยวกันมาก ครอบครัวของเราก็เช่นกัน เราตกลงกันไว้ตั้งแต่เดือนธันวา
แล้วว่า หน้าร้อนปีนี้เราจะไปเที่ยวทะเลฝั่งอันดามันกัน เพราะได้ยินคำเล่าลือมาว่าสะอาดสวยงามมาก
แล้วว่า หน้าร้อนปีนี้เราจะไปเที่ยวทะเลฝั่งอันดามันกัน เพราะได้ยินคำเล่าลือมาว่าสะอาดสวยงามมาก
วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๙ เป็นวันเดินทางของเรา เราออกจากกรุงเทพฯ ตอนหนึ่งทุ่มตรง ไปถึงจังหวัดตรังตอน ๑ โมงเช้า ๒๐ นาที หลังจากเข้าที่พักที่คณะทัวร์จัดให้ แล้วก็รีบอาบน้ำ ออกมารับประทานอาหารกัน ทั้งหมดนี้ต้องให้เสร็จก่อน ๒ โมงครึ่ง เพราะต้องออกเดินทางไปลงเรือที่ท่าเรือกันตัง ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองไปอีก ๒๖ กิโลเมตร ระหว่างเดินทางจากตัวเมืองไปอำเภอกันตัง เราสังเกตว่าถนนหนทางเขาสะอาดมาก มีต้นตะแบกสลับกับต้นมะขาม
สองข้างทาง ช่วงคดเคี้ยวฟากหนึ่งเป็นภูเขาฟากหนึ่งเป็นแม่น้ำ ถนนอยู่บนภูเขาซึ่งสูงจากแม่น้ำมาก เวลารถผ่าน
ส่วนโค้งของภูเขาเรารู้สึกตื่นเต้นระคนกับหวาดเสียวนิดหน่อย เพราะกลัวคนขับจะขับตกลงไปในแม่น้ำ
สองข้างทาง ช่วงคดเคี้ยวฟากหนึ่งเป็นภูเขาฟากหนึ่งเป็นแม่น้ำ ถนนอยู่บนภูเขาซึ่งสูงจากแม่น้ำมาก เวลารถผ่าน
ส่วนโค้งของภูเขาเรารู้สึกตื่นเต้นระคนกับหวาดเสียวนิดหน่อย เพราะกลัวคนขับจะขับตกลงไปในแม่น้ำ
มาถึงท่าเรือกันตังมีนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆ กำลังทยอยหอบหิ้วสัมภาระส่วนตัวลงเรือท่องเที่ยวทางทะเลลำใหญ่
ที่ทางเกาะกระดานไอส์แลนด์ รีสอร์ท จัดไว้บริการนักท่องเที่ยวทั้งหมด (รวมทั้งพวกเราด้วย) กว่า ๖๐ ชีวิต ที่นั่งเป็น
เบาะนวมนุ่มอย่างกับเบาในโรงหนัง (เรือลำนี้เป็นเรือสำหรับท่องเที่ยวโดยเฉพาะ)
ที่ทางเกาะกระดานไอส์แลนด์ รีสอร์ท จัดไว้บริการนักท่องเที่ยวทั้งหมด (รวมทั้งพวกเราด้วย) กว่า ๖๐ ชีวิต ที่นั่งเป็น
เบาะนวมนุ่มอย่างกับเบาในโรงหนัง (เรือลำนี้เป็นเรือสำหรับท่องเที่ยวโดยเฉพาะ)
เรือแล่นเอื่อยๆ ออกไปตามลำน้ำกันตังเพื่อออกสู่ทะเลกว้าง ทิวทัศน์สองข้างทางเป็นป่าชายเลน ปากน้ำแห่งนี้
มีเรือแล่นเข้าอยู่ตลอดเวลา ส่วนมากจะเป็นเรือตังเก เราและเด็กๆ หลายคน มานั่งรวมกลุ่มกันตรงท้ายเรือ เอาบรรดาขนมออกมากินกัน แดงเอา กีตาร์ขึ้นมาเกาเบาๆ ส่วนเล็กก็ตะโกนร้องเพลงเสียงดังลั่น จนหลายคนอมยิ้มไปตามๆ กัน
มีเรือแล่นเข้าอยู่ตลอดเวลา ส่วนมากจะเป็นเรือตังเก เราและเด็กๆ หลายคน มานั่งรวมกลุ่มกันตรงท้ายเรือ เอาบรรดาขนมออกมากินกัน แดงเอา กีตาร์ขึ้นมาเกาเบาๆ ส่วนเล็กก็ตะโกนร้องเพลงเสียงดังลั่น จนหลายคนอมยิ้มไปตามๆ กัน
พอออกพ้นปากน้ำกันตัง เรารู้สึกตื่นตาตื่นใจกับความสวยงามของทะเลแถบนี้ เรามองเห็นหมู่เกาะเป็นรูปทรงแหลมๆ เหมือนหินงอกอยู่กลางทะเลเป็นกลุ่มๆ เหมือนกับหมู่เกาะที่อ่าวพังงาเปี๊ยบเลย คือตัวเกาะจะเป็นเขาหินปูน
สูงชะลูด
สูงชะลูด
รอบ ๆ ตัวเขาหินปูนจะมีหินย้อยลงมาอย่างสวยงาม ส่วนด้านล่างที่ติดกับน้ำ หรือหาดทรายจะเป็นเวิ้งลึกเข้าไป มีหินย้อยระเกะระกะสวยงาม
เราผ่านเกาะตะลิบง ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอกันตัง ที่นี่เป็นดินแดนเสรีของนกนานาชนิด ทั้งนกประจำถิ่นและย้ายถิ่น ปัจจุบันทางกรมป่าไม้ประกาศให้เป็นเขต “ห้ามล่าสัตว์ป่า” เพื่ออนุรักษ์พันธุ์นกไว้ เลยจากเกาะตะลิบงเข้าไปทางตะวันออกก็ผ่านแหลมเจ้าไหมและเกาะ ตรงหน้าเราที่เรือกำลังพุ่งเข้าหา คือ “เกาะหลาวเหลียง” เรือใหญ่ที่เรานั่งมาจอดหน้าหาดของเกาะหลาวเหลียงเหนือ ทุกคนต้องลงเรือเล็ก ก็คือเรือหางยาวเล็กที่พ่วงท้ายเรือใหญ่มานั่นเอง กว่าจะระบายพลขึ้นเกาะหมดก็ประมาณครึ่งชั่วโมง
หาดทรายของเกาะนี้ยาวประมาณ ๒๐๐ เมตร เป็นหาดแคบๆ แสนสวย หาดทรายขาว น้ำทะเลใสแจ๋ว ตัวภูเขาเป็นหินปูนที่สูงชันหินปูนก็มีลวดลายสีสันแปลกๆ ตรงตีนเขามีหลืบโพรงเข้าไป ตรงหลืบนั้นมีหินงอกหินย้อย สวยงามทีเดียว หลังจากเราเดินชมถ้ำกันแล้ว เราก็เปลี่ยนเสื้อผ้าทยอยกันลงน้ำ เราเล่นน้ำกันที่นี่ประมาณ ๑ ชั่วโมง เรือเล็กก็มา
รับเราขึ้นเรือใหญ่อีกครั้ง เพื่อเดินทางต่อไปเกาะกระดานซึ่งมีระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร เขาพูดกันว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อยร่วม ๓ ชั่วโมงทีเดียว
รับเราขึ้นเรือใหญ่อีกครั้ง เพื่อเดินทางต่อไปเกาะกระดานซึ่งมีระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร เขาพูดกันว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อยร่วม ๓ ชั่วโมงทีเดียว
ตอนนี้พวกเราเหนื่อยจากการเล่นน้ำทะเลกันพอสมควร เราเองรู้สึกว่าง่วงนิดหน่อย แต่ความตื่นเต้นทำให้
ไม่อยากนอนและในช่วงนี้ทะเลมีคลื่นบ้างเล็กน้อย เรือลำใหญ่ของเราไหวเอนยวบยาบไปตามแรงคลื่น ทำให้
การเดินทางท่องเที่ยวทางทะเลมีชีวิตชีวาขึ้นอีก...
ไม่อยากนอนและในช่วงนี้ทะเลมีคลื่นบ้างเล็กน้อย เรือลำใหญ่ของเราไหวเอนยวบยาบไปตามแรงคลื่น ทำให้
การเดินทางท่องเที่ยวทางทะเลมีชีวิตชีวาขึ้นอีก...
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๙
การเขียนบันทึกความรู้
การเขียนบันทึกความรู้แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ
๑. การเขียนบันทึกจากการอ่าน
๒. การเขียนบันทึกจากการฟัง
การเขียนบันทึกจากการอ่าน
ควรจัดทำอย่างเป็นระเบียบ เพื่อสะดวกในการค้นคว้า จึงควรใช้กระดาษขนาดเดียวกัน อาจใช้กระดาษสมุดธรรมดาตัดครึ่ง หรือซื้อจากที่เขาตัดไว้แล้ว ซึ่งมีหลายขนาด และหนากว่ากระดาษสมุด การบันทึกหัวข้อหนึ่งควรใช้กระดาษแผ่นหนึ่ง โดยเขียนด้านเดียว ถ้าแผ่นหนึ่งไม่พอก็ต่อแผ่นต่อไป
ส่วนประกอบของใบบันทึกจากการอ่าน ประกอบด้วย
๑. หัวข้อเรื่องที่บันทึก ให้เขียนไว้มุมขวาของกระดาษ
๒. แหล่งที่มาของความรู้ ให้เขียนตามแบบบรรณานุกรม
๓. เนื้อหาสาระของความรู้ ซึ่งอาจบันทึกในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
๓.๑ คัดลอก ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ “ ” โดยข้อความนั้นต้องเหมือนต้นฉบับเดิมทุกประการ โดยคัดลอกมาเฉพาะส่วนที่เห็นว่าจำเป็นเท่านั้น
๓.๒ ย่อ ต้องได้ใจความเหมือนเดิม
๓.๓ สรุป เอามาเฉพาะหัวข้อสำคัญ
ตัวอย่างที่ ๑ การบันทึกโดยการคัดลอก
ความสำคัญของการอ่าน
ชุติมา สัจจานันท์. “การส่งเสริมการอ่านแก่เด็ก,” ประชากรศึกษา. ๓๔(๒) : ๘ ; พฤศจิกายน ๒๕๒๕.
“การอ่านทำให้เกิดพัฒนาการ ไม่ว่าจะเป็นในด้านสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ พฤติกรรม และการดำเนินชีวิต ศีลธรรมจริยธรรม ค่านิยม ฯลฯ การอ่านมีส่วนช่วยปรับปรุงชีวิตให้สดใสสมบูรณ์”
ตัวอย่างที่ ๒ การบันทึกโดยการย่อความ
ความสำคัญของการอ่าน
ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน์. แบบเรียนการอ่านและพิจารณาหนังสือ ท ๒๒๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ๒๕๒๓. หน้า ๒ – ๓
การอ่านมีความจำเป็นต่อชีวิตของคนในปัจจุบันยิ่งกว่าทุกยุคที่ผ่านมา เนื่องจากในโลกปัจจุบัน เป็นโลกที่เปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านวัตถุ วิทยาการ เทคโนโลยี และความนึกคิด จึงจำเป็นที่มนุษย์ที่เกิดมาในโลกปัจจุบันต้องสนใจการอ่าน และต้องอ่านเพื่อสามารถติดตามความเคลื่อนไหว ความก้าวหน้าต่างๆ ให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตัวอย่างที่ ๓ การบันทึกโดยการสรุปความ
การอ่านเป็น
จุฑามาศ สุวรรณโครธ. “การอ่านเป็น,” สามัญศึกษา. ๑๒ : ๒๗ – ๓๐ ; ธันวาคม ๒๕๑๙.
การอ่านเป็น ต้องมีลักษณะดังนี้
๑. รู้จักเลือกอ่านได้ตรงตามความต้องการ
๒. จับใจความได้
๓. รู้จักบันทึกการอ่าน
๔. มีวิจารญาณในการอ่าน
๕. อ่านได้เร็ว
๖. มีนิสัยรักการอ่าน
การเขียนบันทึกจากการฟัง
การบันทึกจากการฟังไม่มีแบบแผนตายตัว แต่ควรประกอบด้วย
๑. หัวข้อเรื่องที่บันทึก
๒. ลักษณะการพูด เช่น คำบอกเล่า คำบรรยาย การอภิปราย ฯลฯ
๓. ชื่อผู้พูด
๔. สถานที่พูด
๕. วันที่ เดือน พ.ศ. ที่พูด
๖. เวลาที่พูด
ตัวอย่างที่ ๔ แบบฟอร์มการบันทึกจากการฟัง
เรื่อง
คำปราศรัยของ เมื่อวันที่ เดือน พ.ศ.
เวลา
(ข้อความ)
การเขียนบันทึกการประชุม
การบันทึกการประชุม บางครั้งเรียกว่า รายงานการประชุม
การประชุม คือ การที่บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปมาร่วมปรึกษาหารือกัน เพื่อพิจารณากิจการงานโดยเฉพาะกลุ่มงาน ไปจนถึงการประชุมระดับชาติ เช่น
คณะกรรมการนักเรียนประชุมกันเพื่อทำกิจกรรมกีฬาสี
คณะอาจารย์ประชุมเพื่อพิจารณากิจการโรงเรียน
คณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประชุมเพื่อร่างกฎหมาย เป็นต้น
ศัพท์เกี่ยวกับการประชุมที่ควรทราบ
๑. ระเบียบวาระการประชุม คือ เรื่องที่จะนำเข้าปรึกษากันในที่ประชุม
ตัวอย่าง
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรอง รายงานการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๔
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรอง รายงานการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๔
ระเบียบวาระที่ ๓ พิจารณาเรื่องการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องอื่นๆ
๒. ญัตติ คือ ข้อเสนอซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอต่อที่ประชุมในตอนประชุม หรือก่อนการประชุมเพื่อพิจารณาลงมติ โดยปกติสมาชิกต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ผ่านเลขานุการแล้วเลขานุการนำเสนอประธานเพื่อบรรจุเข้าในระเบียบวาระการประชุม
๓. มติ คือ ข้อตกลงของที่ประชุมในญัตติต่างๆ การออกเสียงลงมตินี้ ถือเสียงข้างมากเป็นมติ โดยอาจเป็นการออกเสียงโดยเปิดเผย หรือการออกเสียงโดยลงคะแนนลับ
๔. รายงานการประชุม หรือบันทึกการประชุม คือ ข้อความที่เลขานุการจดบันทึกความคิดเห็นของผู้
เข้าประชุมพร้อมทั้งญัตติ และมติ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงานของหน่วยงานนั้นๆ
เข้าประชุมพร้อมทั้งญัตติ และมติ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงานของหน่วยงานนั้นๆ
การเขียนบันทึกการประชุม
การเขียนบันทึกการประชุม ทำได้ ๓ วิธี ดังนี้
๑. จดอย่างละเอียดทุกคำพูด พร้อมด้วยมติของที่ประชุม
๒. จดย่อเรื่องที่พิจารณาและย่อคำพูดเฉพาะประเด็นสำคัญที่นำไปสู่มติของที่ประชุม พร้อมมติของที่ประชุม
๓. จดสรุปสาระสำคัญของเรื่องที่พิจารณา เหตุผลของที่ประชุม พร้อมด้วยมติของที่ประชุม
ส่วนประกอบของใบบันทึกจากการอ่าน การเขียนบันทึกการประชุมต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
๑. ชื่อการประชุม ลงชื่อคณะกรรมการ หรือชื่อการประชุมนั้น
๒. ครั้งที่ ลงครั้งที่ประชุม
๓. เมื่อ ลงวันที่ เดือน พ.ศ. ที่ประชุม
๔. ณ ลงชื่อสถานที่ประชุม
๕. ผู้มาประชุม ลงรายชื่อผู้มาประชุม เขียนเรียงไปชื่อละบรรทัด
๖. ผู้ไม่มาประชุม หรือผู้ลาประชุม ลงรายชื่อ หรือจำนวนผู้ที่ไม่มาประชุม
๗. เริ่มประชุมเวลา ลงเวลาที่เริ่มประชุม
๘. ข้อความ ให้บันทึกเรื่องราวในการประชุม (เริ่มด้วยประธานกล่าวเปิดประชุม)
อ่านบันทึกการประชุมครั้งก่อน (ถ้ามี) ให้ที่ประชุมรับรองหรือแก้ไข แล้วเริ่มเรื่องที่ประชุม ถ้ามีหลายเรื่องให้แยกเป็นเรื่อง ๑,๒,๓ ต่อไปตามลำดับและจดมติของที่ประชุมไว้ทุกเรื่อง
๙. เลิกประชุมเวลา ให้ลงเวลาเลิกประชุม
๑๐. ผู้จดบันทึกการประชุม ให้ลงชื่อผู้จดบันทึกการประชุม
ตัวอย่าง แบบฟอร์มบันทึกการประชุม
บันทึกการประชุม(รายงานการประชุม)...................
ครั้งที่.../....
เมื่อ.......................................
ณ.....................................................
--------------------------------
ผู้มาประชุม
๑.
๒.
๓.
๔.
ผู้ไม่มาประชุม (ถ้ามี)
๑.
๒.
ผู้เข้าร่วมประชุม (ถ้ามี)
๑.
๒.
เริ่มประชุมเวลา
ประธานกล่าวเปิดประชุม แล้วที่ประชุมพิจารณาเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่นๆ
เลิกประชุมเวลา
ลงชื่อ ...................................................
ผู้บันทึกการประชุม
ในการประชุมบางครั้งจัดเรื่องเสนอที่ประชุมเป็นหมวดๆ เรียกว่า “ระเบียบวาระ” ซึ่งแบ่งระเบียบวาระออกได้ดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง (เป็นเรื่องที่เคยประชุมมาแล้วก่อนหน้าการประชุมครั้งนี้
หากครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกจะไม่มีเรื่องสืบเนื่อง)
หากครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกจะไม่มีเรื่องสืบเนื่อง)
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอพิจารณา (ซึ่งอาจแบ่งออกเป็นระเบียบวาระละเรื่องก็ได้)
ระเบียบวาระสุดท้าย เรื่องอื่นๆ
ข้อควรคำนึงในการทำบันทึกการประชุม
๑. บันทึกตามแบบบันทึกการประชุม
๒. เรื่องที่ประชุมแยกหัวข้อให้ชัดเจน
๓. จดเหตุผลและมติของแต่ละเรื่อง
ภาษาที่ใช้ในการเขียนบันทึกการประชุม
การเขียนบันทึกการประชุมควรใช้ภาษาในลักษณะนี้ คือ
๑. ใช้ภาษาที่สุภาพ ไม่ใช้ภาษาสแลง หรือถ้อยคำหยาบคาย
๒. ใช้ภาษาในระดับภาษาแบบแผน
๓. ข้อความ หรือประโยคต้องกระชับรัดกุม เข้าใจง่าย
ข้อควรคำนึงในการเขียนบันทึก
การเขียนบันทึกทุกชนิดควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ
๑. ความถูกต้องในเนื้อหาสาระสำคัญ
๒. ความถูกต้องในเนื้อหาประกอบปลีกย่อย เช่น ตัวอย่างประกอบ ตัวเลข ฯลฯ
๓. ความถูกต้องในการอ้างแหล่งที่มาของข้อมูล
๔. มีความชัดเจนในการเขียนหรือการพิมพ์สะกดการันต์
๕. ความชัดเจนในเนื้อความ คือ การเลือกใช้คำที่เหมาะสม ข้อความกระชับรัดกุมเข้าใจง่าย
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
กิจกรรม
บทที่ ๒
เรื่องการเขียนบันทึก
ตอนที่ ๑ จงตอบคำถามต่อไปนี้
๑. จงบอกความหมายของบันทึกมาพอสังเขป
๒. บันทึกแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
๓. บันทึกความจำแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
๔. บันทึกความจำมีประโยชน์อย่างไร
๕. บันทึกความจำระยะยาวมีส่วนที่ต้องบันทึก คืออะไรบ้าง
๖. บันทึกประสบการณ์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
๗. ประโยชน์ของการบันทึกประสบการณ์แต่ละประเภทมีอะไรบ้าง
๘. บันทึกความรู้มีกี่ลักษณะ อะไรบ้าง
๙. จงเขียนแบบฟอร์ม การเขียนบันทึกจากการอ่านในหัวข้อต่อไปนี้
๙.๑ บันทึกจากการอ่านหนังสือ
๙.๒ บันทึกจากการอ่านบทความในวารสาร
๙.๓ บันทึกจากการอ่านบทความในหนังสือพิมพ์
๑๐. จงเขียนแบบฟอร์ม การเขียนบันทึกจากการฟังมา ๑ รายการ
๑๑. จงเขียนแบบฟอร์มบันทึกการประชุม
ตอนที่ ๒
๑. ให้นักเรียนทำบันทึกช่วยความจำเฉพาะกิจธุระแต่ละคราวโดยเขียนทุกวันเป็นเวลา ๕ วัน
๒. ให้นักเรียนทำบันทึกช่วยความจำระยะยาว ๕ รายการ
๓. ให้นักเรียนเขียนบันทึกประจำวัน หรืออนุทินของวันนี้
๔. ให้นักเรียนเขียนบันทึกประสบการณ์พิเศษเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมา ๑ เรื่อง
๕. ให้นักเรียนเขียนบันทึกความรู้จากการอ่าน เรื่องประโยชน์ของโครงเรื่อง ตามแบบบันทึกความรู้มา ๓ วิธี ดังนี้
๕.๑ บันทึกความรู้โดยการคัดลอกข้อความ
๕.๒ บันทึกความรู้โดยการย่อความ
๕.๓ บันทึกความรู้โดยการสรุปความ
ประโยชน์ของโครงเรื่อง
การวางโครงเรื่องก่อนลงมือเขียนมีประโยชน์หลายประการคือ
๑. ช่วยในการตัดสินใจ เกี่ยวกับวิธีที่จะนำเสนอเนื้อหา กล่าวคือ ช่วยให้เราทราบ
จุดมุ่งหมายในการเขียน รู้จักกำหนดขอบข่ายของเนื้อหา สามารถกำหนดความคิดหลักและความคิดสนับสนุนของเนื้อหาได้ชัดเจน และช่วยในการตัดสินใจที่จะลำดับความคิดที่จะกล่าวก่อนหรือหลังอย่างไร รวมทั้งช่วยให้เห็นแนวทางการเรียบเรียงความคิดว่าควรจะใช้แบบใด เช่น เรียบเรียงตามวัน เวลา ตามเนื้อที่ หรือตามเหตุผล เป็นต้น
๒. ช่วยให้ตัดสินใจในการเตรียมเนื้อหาได้อย่างเพียงพอ เมื่อบรรจุหัวข้อต่างๆ
ลงในโครงเรื่อง ทำให้เราทราบว่าต้องการเนื้อหาอะไรบ้าง และมีเนื้อหาในประเด็นหรือ
หัวข้อใดที่เรายังไม่รู้ดีพอ หรือยังหารายละเอียดไม่ได้ เราก็สามารถเตรียมความรู้เหล่านี้
เพิ่มเติมได้อีกจนเพียงพอ
๓. ช่วยในการวางสัดส่วนของเรื่องได้เหมาะสม โครงเรื่องช่วยบอกให้ทราบว่า
ควรพูดในประเด็นอะไรบ้าง มีประเด็นใดที่ไม่ควรพูด ควรนำความคิดหรือรายละเอียดมา
สนับสนุนมากน้อยแค่ไหน จึงจะพอเหมาะกับความยาว ซึ่งจะช่วยให้สัดสวนของเรื่อง
งดงามตา
๔. ช่วยให้เขียนเรื่องอย่างมีเหตุผล คือ มองเห็นความสำคัญของประเด็นต่างๆ
ของเนื้อหาจากโครงเรื่องได้ชัดเจน ว่ามีประเด็นหรือหัวข้อใดเกี่ยวข้องกันบ้าง และจะโยง
สัมพันธ์ความคิดของประเด็นต่างๆ เหล่านั้นอย่างไร จึงจะทำให้เนื้อหามีน้ำหนักและ
สมเหตุสมผล
(จากหนังสือเรื่องการเตรียมเพื่อการพูดและการเขียน TH๑๐๓ ภาควิชาภาษาไทยและ
ภาษาตะวันออก คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เรียบเรียงโดยฉัตรวรุณ
ตันนะรัตน์, อรุณีประภา หอมเศรษฐี, ประสิทธิ์ กาพย์กลอน, สมพันธุ์ เลขะพันธ์ พิมพ์
ครั้งที่ ๗ พิมพ์เมื่อ ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๑ จำนวน ๒๑๖ หน้า พิมพ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณ
การพิมพ์ อำเภอพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร)
๖. สมมติว่านักเรียนเป็นเลขานุการ ของคณะกรรมการนักเรียนซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๐ คน คณะกรรมการนักเรียนได้ประชุมปรึกษาหารือกันเรื่องการจัดกีฬาสีประจำปีนี้ ในวันประชุม ไม่มีผู้ขาดการประชุมเลย ให้นักเรียนเขียนบันทึกการประชุมครั้งนี้ โดยสมมุติวัน เวลา สถานที่ วาระ มติของการประชุม ชื่อ และตำแหน่ง ของแต่ละคนเอง
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
เฉลย
กิจกรรม บทที่ ๒
เรื่องการเขียนบันทึก
ตอนที่ ๑ (แนวคำตอบ)
๑. บันทึก คือ การจดข้อความไว้เพื่อกันลืม เพื่อเตือนความจำ หรือเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
๒. บันทึกแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้
๑. บันทึกช่วยความจำ
๒. บันทึกประสบการณ์
๓. บันทึกความรู้
๔. บันทึกการประชุม
๓. บันทึกความจำแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
๑. บันทึกช่วยความจำเฉพาะกิจธุระแต่ละคราว
๒. บันทึกช่วยความจำระยะยาว
๔. บันทึกความจำมีประโยชน์ คือ ช่วยเตือนความจำในกิจธุระ นัดหมายกำหนดงาน จำชื่อ
ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลที่ต้องการติดต่อด้วย
ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลที่ต้องการติดต่อด้วย
๕. บันทึกความจำระยะยาวมีส่วนที่ต้องบันทึก คือ ชื่อที่อยู่ของบุคคล หมายเลขโทรศัพท์
วันสำคัญต่างๆ
วันสำคัญต่างๆ
๖. บันทึกประสบการณ์มี ๒ ประเภท ดังนี้
๑. บันทึกประจำวัน หรืออนุทิน
๒. บันทึกประสบการณ์พิเศษ ที่น่าสนใจ หรือประทับใจ
๗. ประโยชน์ของการบันทึกประสบการณ์แต่ละประเภทมีดังนี้
๑. บันทึกประจำวัน หรืออนุทิน
- บันทึกประสบการณ์ อารมณ์ความรู้สึก ความคิดเห็นของตนแต่ละวัน ช่วยให้รู้จักตนเอง
มากขึ้น และสามารถนำมาเป็นข้อคิดในการปรับปรุงแก้ไขตนเอง
มากขึ้น และสามารถนำมาเป็นข้อคิดในการปรับปรุงแก้ไขตนเอง
- สามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกความคิดเห็นได้อย่างอิสระซึ่งมีผลต่อการผ่อนคลายความเครียดได้
- ช่วยฝึกทักษะในการเขียน
๒. บันทึกประสบการณ์พิเศษ
- ส่งเสริมให้เป็นคนช่างสังเกต ช่างพิจารณา
- สามารถถ่ายทอดผลการสังเกตให้ผู้อื่นทราบได้
- ช่วยส่งเสริมการเขียนเรียงความ
- อาจนำมาขยายเป็นสารคดีได้
- ช่วยฝึกทักษะการเขียน
๘. บันทึกความรู้มี ๒ ลักษณะ ดังนี้
๑. บันทึกจากการอ่าน
๒. บันทึกจากการฟัง
๙. แบบฟอร์มการเขียนบันทึกจากการอ่าน
๙.๑ บันทึกจากการอ่านหนังสือ
หัวข้อเรื่องที่บันทึก
ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. พิมพ์ครั้งที่. จังหวัดที่พิมพ์ : สถานที่พิมพ์, พ.ศ. ที่พิมพ์. หน้าของข้อความที่ยกมา
(เนื้อความ)
๙.๒ บันทึกจากการอ่านบทความในวารสาร
หัวข้อเรื่องที่บันทึก
ชื่อผู้แต่ง. “หัวข้อเรื่อง,” ชื่อหนังสือ. ปีที่ (ฉบับที่) : หน้าที่นำบทความมา ; เดือน
พ.ศ.
(เนื้อความ)
๙.๓ บันทึกจากการอ่านบทความในหนังสือพิมพ์
หัวข้อเรื่องที่บันทึก
ชื่อผู้แต่ง. “หัวข้อเรื่อง,” ชื่อหนังสือ. ฉบับที่ : หน้าที่นำบทความมา ; ฉบับวันที่
เดือน พ.ศ.
(เนื้อความ)
๑๐. แบบฟอร์มการเขียนบันทึกจากการฟัง (ดูในเอกสาร)
๑๑. แบบฟอร์มการเขียนบันทึกการประชุม (ดูในเอกสาร)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน
บทที่ ๒ เรื่อง การเขียนบันทึก
คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในกระดาษคำตอบ
๑. การบันทึกช่วยความจำเฉพาะกิจธุระแต่ละคราว ควรบันทึกสิ่งใดบ้าง
ก. กิจกรรมสำคัญที่จะทำ
ข. วัน เวลา สถานที่ที่เคยมีการนัดหมาย
ค. วัน เวลา สถานที่ ชื่อบุคคลที่จะไปประกอบกิจธุระนั้น
ง. ชื่อ ที่อยู่ หมายเลข โทรศัพท์ของบุคคลที่จะไปประกอบกิจธุระนั้น
๒. บันทึกแบบใดผู้เขียนมีอิสระในการเขียนและการใช้ภาษามากที่สุด
ก. บันทึกความรู้
ข. บันทึกอนุทิน
ค. บันทึกการประชุม
ง. บันทึกประสบการณ์พิเศษ
๓. ข้อความใดไม่ใช่ประโยชน์ของการบันทึกที่ดี
ก. ช่วยฝึกทักษะการเขียน
ข. เขียนด่าว่าบุคคลที่เราไม่พอใจได้
ค. เป็นข้อมูลสำหรับเขียนอัตชีวประวัติ
ง. ทำให้รู้จักตนเองมากขึ้นเมื่ออ่านทบทวน
๔. บันทึกใดไม่ใช่ลักษณะของการบันทึกอนุทิน
ก. บันทึกประสบการณ์
ข. บันทึกอารมณ์ความรู้สึก
ค. บันทึกความคิดเห็นส่วนตัว
ง. บันทึกเวลาในการทำกิจธุระในแต่ละวัน
๕. ข้อความใดไม่ได้กล่าวถึงประโยชน์โดยตรงของการบันทึกประสบการณ์พิเศษ
ก. นำมาขยายเป็นสารคดีได้
ข. ส่งเสริมการเขียนเรียงความ
ค. อาจเก็บสาระความรู้ไว้ได้ทุกโอกาส
ง. ถ่ายทอดผลการสังเกตให้บุคคลอื่นทราบได้
๖. ข้อความใดกล่าวถึงการเขียนบันทึกความรู้ได้ถูกต้อง
ก. มุมขวามือของกระดาษให้เขียนหัวข้อเรื่องที่บันทึก
ข. ข้อความที่ลอกมาโดยตรงให้เขียนโดยขึ้นย่อหน้าใหม่
ค. กระดาษที่ใช้บันทึกควรมีขนาดเดียวกันเพื่อง่ายแก่การเย็บเล่ม
ง. แหล่งที่มาของความรู้ควรเขียนไว้ด้านหลังของกระดาษที่ใช้บันทึก
๗. ข้อความใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. การย่อความรู้มาใช้ให้บันทึกเฉพาะชื่อผู้แต่งเท่านั้น
ข. การบันทึกความรู้ด้วยการคัดลอกให้ใส่ไว้ในเครื่องหมาย “......”
ค. การสรุปความรู้ควรใส่ความคิดเห็นลงไประหว่างเนื้อหาที่สรุปด้วย
ง. การบันทึกความรู้จากการฟังประกอบด้วยหัวข้อเรื่อง ชื่อผู้พูด สถานที่พูด วัน เวลา ที่พูด
๘. การบันทึกการประชุมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไร
ก. บันทึกข้อตกลง
ข. รายงานการประชุม
ค. บันทึกมติของที่ประชุม
ง. รายงานมติของที่ประชุม
๙. คำจำกัดความใดไม่ถูกต้อง
ก. มติคือข้อตกลงของที่ประชุมในญัตติต่างๆ
ข. ระเบียบวาระการประชุม คือเรื่องที่จะนำเข้าปรึกษากันในที่ประชุม
ค. บันทึกการประชุม คือข้อความที่ประธานจดบันทึกความคิดเห็นของผู้เข้าประชุม
ง. ญัตติคือข้อเสนอซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอต่อที่ประชุมในตอนประชุม หรือก่อนประชุม
๑๐. ข้อความใดกล่าวถึงการเขียนบันทึกการประชุมถูกต้อง
ก. จดมติของที่ประชุมเพียงอย่างเดียว
ข. จดย่อเรื่องที่พิจารณาโดยไม่ต้องจดมติของที่ประชุม
ค. จดย่อคำพูดเฉพาะประเด็นสำคัญที่นำไปสู่มติของที่ประชุมโดยไม่ต้องจดมติ
ง. จดสรุปสาระสำคัญของเรื่องที่พิจารณา เหตุผลของที่ประชุม พร้อมมติของที่ประชุม
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ตำราและหนังสือประกอบ
กุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ. หนังสือเรียนภาษาไทยรายวิชา ท ๐๘๑ การศึกษาค้นคว้าเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๓๔.
คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. บันทึกรายงานการประชุม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๒๓.
คณะอาจารย์จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ. ภาษาที่ใช้ในกิจกรรมการประชุม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด, ๒๕๒๖.
ชนะ เวชกุล. การเขียนสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๒๔.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คู่มือการเขียนบทนิพนธ์ รายงาน ภาคนิพนธ์และปริญญานิพนธ์. กรุงเทพฯ : ศรีสมบัติการพิมพ์, ๒๕๓๑.
บุญยงค์ เกศเทศ, ผศ. เขียนไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ม.ป.ป.
บุญยงค์ เกศเทศ, รศ.ดร. ภาษาวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ : บริษัทต้นอ้อ จำกัด, ๒๕๓๔.
ปรีชา หิรัญประดิษฐ์, เรือเอกหญิง. การใช้ภาษาไทยในวงราชการ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๒.
วัชระ ขยัน. การพิมพ์รายงานการประชุม. กรุงเทพฯ : แสงจันทร์การพิมพ์, ม.ป.ป.
วิชาการ, กรม. กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือนักเขียน. แปลและเรียบเรียง โดย ทองสุก เกตุโรจน์ กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๒๘.
คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๒๘.
สนิท ตั้งทวี, ผศ. การใช้ภาษาเชิงปฏิบัติ. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๒๙.
สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชาการใช้ภาษาไทย หน่วยที่ ๙ – ๑๕. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๖.
สุภรณ์ ประดับแก้ว. การเก็บหนังสือราชการประกอบด้วยคู่มือการเก็บหนังสือราชการทะเบียนจัดระบบการเก็บหนังสือราชการ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ พร้อมแบบต่างๆ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช, ๒๕๓๐.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -